“มาตรา 830 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 830” คืออะไร?
“มาตรา 830” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 830 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันเหตุที่ทำให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปนั้นจะเกิดแต่ตัวการหรือตัวแทนก็ตาม ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะได้บอกกล่าวเหตุนั้น ๆ ไปยังคู่สัญญาฝ่ายนั้นแล้ว หรือจนกว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะได้ทราบเหตุแล้ว “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 830” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 830 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2505
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญ ทำหนังสือสัญญากู้เงินจากบุคคลภายนอกนั้น จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาต้องรับผิดด้วยหาได้ไม่ เว้นแต่ผู้ให้กู้จะพิสูจน์ได้ว่าผู้นั้นได้ทำในฐานะเป็นผู้จัดการหรือตัวแทนของห้างหุ้นส่วนหรือได้นำเงินที่กู้มาใช้ในกิจการห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 830, ม. 1050
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2495
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างเหมา สร้างสุขศาลาจากจำเลย ซึ่งเป็นสาธารณสุขจังหวัด โจทก์แถลงยืนยันต่อศาลเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว แต่ตามคำบรรยายฟ้องและคำพยานโจทก์ได้ความชัดเจนว่าจำเลยทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ทำสุขศาลานั้นจำเลยเป็น่เพียงตัวแทนของกรมสาธารณสุขเท่านั้น ดังนี้จำเลยจึงหาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวไม่ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 76, ม. 797, ม. 830
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2493
ตัวแทนเมื่อพ้นหน้าที่เป็นตัวแทน จะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ตนปกครองดูแลคืนให้ตัวการโดยสิ้นเชิง ทรัพย์สิ่งใดที่ตัวแทนยังคงยึดถือครอบครองไว้ ไม่ส่งคืนให้ตัวการโดยตัวการไม่ทราบนั้น ตัวแทนจะอ้างว่าเป็นการครอบครองโดยปรปักษ์เพื่อเอาเป็นของตนเสียมิได้ ต้องถือว่ายังคงยึดถือครอบครองไว้แทนตัวการและผู้อื่นที่เข้าครอบครองโดยตัวแทนแบ่งให้ เมื่อทราบว่าตัวแทนไม่มีอำนาจเอาทรัพย์นั้นมาแบ่งให้ตนแล้ว การที่ผู้อื่นเข้าครอบครอง จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองแทนตัวการเช่นเดียวกับตัวแทนนั้น ซึ่งจะอ้างการครอบครองมาใช้ยันตัวการไม่ได้ จนกว่าจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1381 แล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 810, ม. 828, ม. 829, ม. 830, ม. 831, ม. 832, ม. 1368, ม. 1381