Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 83 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 83” คืออะไร? 


“มาตรา 83” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 83 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 83” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 83 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15561/2557
การกีฬาแห่งประเทศไทยเพิกถอนใบอนุญาตที่ให้โจทก์จัดตั้งเป็นสมาคมแต่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติ ทั้งการเลิกสมาคมต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 101 (6) ที่บัญญัติให้สมาคมเลิกกันเมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมจากทะเบียน เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียน โจทก์จึงยังมีสถานะเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 83
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 83, ม. 101 (6)
พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2528 ม. 53, ม. 59


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรมมูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงรับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค.เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผลเพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 72, ม. 81, ม. 83, ม. 1676, ม. 1677


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรม มูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงได้รับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค. เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผล เพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 72, ม. 81, ม. 83, ม. 1676, ม. 1677
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที