Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 826 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 826 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 826” คืออะไร? 


“มาตรา 826” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 826 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไปด้วยตัวการถอนตัวแทน หรือด้วยตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน
              อนึ่ง สัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับข้อสัญญาหรือสภาพแห่งกิจการนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 826” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 826 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2562
การขอตั้งผู้จัดการมรดก การเป็นผู้จัดการมรดก หรือการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้อง ทายาทของผู้ร้องไม่อาจเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ได้ ผู้ร้องถึงแก่ความตายก่อนยื่นอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค ๖ พิพากษาให้จำหน่ายคดีของผู้ร้อง ทนายผู้ร้องและผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายผู้ร้องและผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้อง และถือว่าล่วงเลยเวลาที่ทนายผู้ร้องจะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่ผู้ร้องมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องอีกต่อไป การที่ผู้ร้องฎีกาโดยทนายผู้ร้องเป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาเป็นการไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 826 วรรคสอง, ม. 828
ป.วิ.พ. ม. 42


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2554
ส. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ไปจดทะเบียนขายที่ดิน แต่ตราบใดที่ยังมิได้ไปจดทะเบียนขายที่ดิน การขายก็ยังไม่มีขึ้นโดยสมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย หนังสือมอบอำนาจย่อมสิ้นผล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 826 วรรคสอง การที่ ป. นำหนังสือมอบอำนาจที่สิ้นผลแล้วไปดำเนินการจดทะเบียนขายที่ดินหลังจาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่มีผลให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองมรดกของ ส. เพื่อประโยชน์ของทายาทต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 456 วรรคหนึ่ง, ม. 826, ม. 1599, ม. 1600


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2553
ตามคำร้องของทนายโจทก์ที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2545 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทนายโจทก์ที่ 2 ดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ในฐานะตัวแทนเพื่อไม่ให้กระบวนพิจารณาเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือภริยาของโจทก์ที่ 2 ประสงค์เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาโดยทนายโจทก์ที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนับจนถึงเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 ยื่นฎีกาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทนายโจทก์ที่ 2 ย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายของโจทก์ที่ 2 และล่วงเลยเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 จะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่โจทก์ที่ 2 มอบหมายแก่ตน จนกว่าจะมีผู้เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 2 อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 826, ม. 828
ป.วิ.อ. ม. 29
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 4
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที