Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 823 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 823 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 823” คืออะไร? 


“มาตรา 823” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 823 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าตัวแทนกระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจก็ดี หรือทำนอกทำเหนือขอบอำนาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น
              ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ “

 

ค้นหาได้ทุกเรื่อง : "บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตรากฎหมาย" >> คลิก !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 823” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 823 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823 - 825/2496
ไวยาวัจจกรเป็นโจทก์ ฟ้องคดีแทนวัด จำเลยคัดค้านว่าไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะมิได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้อง เมื่อ ปรากฎว่า โจทก์มีเอกสารที่คณะสงฆ์วัดนั้นแต่งตั้งโจทก์เป็นไวยาวัจจกร และปรากำว่าเจ้าอาวาสวัดนั้นก็ได้ทำหนัง สือมอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทนวัดได้อีกฉะบับหนึ่ง แม้หนังสือฉะบับแรกจะมิได้ปรากฎชัดว่าให้โจทก์ดำเนิน คดีได้ก็ดี แต่หนังสือฉะบับหลังมอบอำนาจให้ดำเนินคดีได้ไว้ชัดเจน การที่โจทก์เพิ่งแสดงหนังสือมอบอำนาจฉะบับ หลังภายหลังนั้นไม่เป็นเหตุให้ศาลไม่รับฟัง เพราะตัวการย่อมรับรองการกระทำของตัวแทนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 823 โจทก์จึงฟ้องความแทนวัดได้ โดยชอบ./
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 60.
ป.พ.พ. ม. 823.


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2495
บุตรเอาที่ดินของบิดามารดาไปให้ผู้อื่นเช่า โดยทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือลงชื่อบุตรเป็นผู้ให้เช่าแล้ว นำสืบว่าที่ทำสัญญาให้เช่ารายนี้ ก็โดยได้อำนาจมาจากบิดามารดา การสืบดังกล่าวนี้มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญาเช่าแต่อย่างใด
การที่ตัวการให้สัตยาบันการกระทำของตัวแทนตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 823 นั้น หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 538, ม. 798, ม. 823.
ป.วิ.พ. ม. 94.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2495
เมื่อยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่เขาแล้ว บิดามารดาโดยกำเนิดก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบูญธรรมแล้ว และแม้ภายหลังผู้รับบุตรบูญธรรมจะวายชนม์ เด็นนั้นก็ยังคงเป็นบุตรบูญธรรมของผู้วายชนม์นั้นอยู่ ฉะนั้นบิดามารดาเดิมของเด็กนั้น หรือภริยาของผู้รับบุตรบูญธรรมย่อมไม่มีอำนาจปกครองเด็กนั้นตามกฎหมายจึงไม่มีอำนาจทำนิติกรรมแทนเด็กได้ ถ้าขืนทำไป นิติกรรมนั้นๆไม่ผูกพันเด็กให้ต้องรัยผิด
มารดาเดิมของเด็กซึ่งเป็นบุตรบูญธรรมคนอื่นอยู่ได้ตั้งตัวเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก ฟ้องเรียกมรดกของผู้รับบุตรบูญธรรม แล้วได้ประนีประนอมยอมความกันต่อศาลให้แบ่งทรัพย์กัน โดยวิธีขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกัน ศาลก็พิพากษาให้เป็นไปตามยอม ต่อมาได้มีการขอตั้งผู้ปกครองเด็กนั้น ซึ่งศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองเด็กผู้ปกครองจึงร้องขอต่อศาลในคดีเดิมให้ดำนเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มรดกเอาเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษาท้าย ดังนี้ การกระทำของผู้ปกครอง
ดังกล่าวย่อมเป็นการรับรองกิจการที่มารดาเดิมของเด็กได้กระทำไปในเรื่องนั้นการกระทำของผู้ปกครองจึงย่อมผูกพันเด็กเหมือนเด็กได้ - ทำด้วยตนเอง ฉะนั้นเด็กจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาท้ายยอมดังกล่าวแล้วได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 134, ม. 139, ม. 1586, ม. 823.
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 138, ม. 145.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที