Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 820 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 820 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 820” คืออะไร? 


“มาตรา 820” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 820 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 820” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 820 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4163/2564
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.1406/2559 ของศาลจังหวัดมีนบุรีซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าห้องชุดพิพาทกับโจทก์ โจทก์บุกรุกเข้าอาศัยในห้องชุดพิพาทเป็นการละเมิดจำเลยที่ 2 ขอให้โจทก์และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องชุดพิพาทพร้อมชดใช้ค่าเสียหาย ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าห้องชุดพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ยินยอมหรือไม่ และโจทก์อยู่อาศัยในห้องชุดพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือไม่ ซึ่งตามสัญญาเช่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าจนครบกำหนดเวลาเช่า ต่อมาโจทก์ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่ได้ตกลงกันในทุกประเด็นที่มีการฟ้องก็ตาม ก็ถือได้ว่ามีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้วและศาลจังหวัดมีนบุรีได้พิพากษาตามยอมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ที่ระบุว่า โจทก์และจำเลย (จำเลยที่ 2 และโจทก์คดีนี้) ไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ กันอีกย่อมหมายรวมถึง ค่าเช่าล่วงหน้าตามสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ด้วย โจทก์จึงถูกปิดปากด้วยข้อสัญญาดังกล่าวมิอาจฟ้องค่าเช่าล่วงหน้าที่โจทก์ยังอยู่อาศัยในห้องชุดพิพาทไม่ครบกำหนดได้ และการที่โจทก์ฟ้องขอเรียกค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำเฉพาะจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าห้องชุดพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เจ้าของห้องชุดพิพาท ในลักษณะจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาเช่ากับโจทก์ มิใช่กระทำเป็นส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าตามสัญญาเช่า
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 820
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคหนึ่ง, ม. 148


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2563
การที่จำเลยอนุมัติให้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ธ. เป็นบริษัทย่อยของจำเลย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัท ธ. รับงานก่อสร้างของจำเลย และให้พนักงานของจำเลยไปร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คของบริษัท ธ. เพื่อตรวจสอบการสั่งซื้อสินค้าของบริษัท ธ. ย่อมเอื้ออำนวยในทางที่เป็นคุณประโยชน์ต่อจำเลยเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยว่าจ้างบริษัท ธ. ดำเนินการก่อสร้างโครงการคอนโด ล. และ ช. ของจำเลยและบริษัท ธ. สั่งซื้อสินค้าประเภทพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างอาคารชุดโครงการดังกล่าวของจำเลยที่บริษัท ธ. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ย่อมเป็นเรื่องปกติแห่งวิถีทางธุรกิจที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ธ. เป็นบริษัทย่อยของจำเลย เพื่อให้บริษัท ธ. รับงานก่อสร้างของจำเลย อันถือได้ว่าบริษัท ธ. เป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสอง ในการก่อนิติสัมพันธ์กับโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกที่ได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนของจำเลย จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันบริษัท ธ. ในฐานะตัวแทนได้ทำไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 820
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 820


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2563
โจทก์ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทให้แก่จำเลยร่วมเนื่องจากจำเลยที่ 2 ปลอมหนังสือโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จะขายจึงมีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด ย่อมถือว่าเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา และเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรง จำเลยที่ 1 จะยกเรื่องตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ นอกจากนี้เมื่อการที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง หาใช่เป็นเรื่องเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากการชำระหนี้ไม่การกระทำของจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องให้รับผิดในมูลสัญญา มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในมูลละเมิด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งปัญหาว่าจำเลยที่ 2 จะรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 252
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 456, ม. 820, ม. 821, ม. 822
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 252
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที