Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 82 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 82 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 82” คืออะไร? 


“มาตรา 82” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 82 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนพร้อมทั้งข้อบังคับแล้วเห็นว่าคำขอนั้นถูกต้องตามมาตรา ๘๑ และข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๗๙ และวัตถุประสงค์ของสมาคมไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ และรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม และผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมนั้นมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้น และประกาศการจัดตั้งสมาคมในราชกิจจานุเบกษา
              ถ้านายทะเบียนเห็นว่าคำขอหรือข้อบังคับไม่ถูกต้องตามมาตรา ๘๑ หรือมาตรา ๗๙ หรือรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม หรือผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมมีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้มีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้น

 


              ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ หรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนไปยังผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนโดยมิชักช้า
              ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่รับการจดทะเบียน
              ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 82” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 82 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2520
กระทรวงมหาดไทยจำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ฯลฯ เป็นการปฏิบัติการตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการสัมพันธ์ที่จำเลยแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หาใช่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่เป็นการที่จำเลยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่างก็จะต้องปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 ข้อ 4, ข้อ 14
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 6, ม. 24
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 82


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2520
กระทรวงมหาดไทยจำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ฯลฯ เป็นการปฏิบัติการตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการ+สัมพันธ์ที่จำเลยแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลย+คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หาใช่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่เป็นการที่จำเลยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่างก็จะต้องปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 ม. 4, ม. 14
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 6, ม. 29
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 82


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2518
วัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิและข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินของมูลนิธิตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 82(3) และ (4) นั้น ตามมาตรา 84 หาได้ยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดขอร้องให้ศาลกำหนดขึ้นได้ไม่อันแสดงว่าเจตนารมย์ของกฎหมายประสงค์จะให้ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแต่ผู้เดียวเป็นผู้กำหนดในตราสารจัดตั้งและจะขาดเสียมิได้ เพราะรายการทั้งสองดังกล่าวเป็นสารสำคัญอันถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบของการที่จะเป็นมูลนิธิตามมาตรา 81
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า'โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชันจังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคลรักสำรวจ' เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคลรักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699เพราะโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 81, ม. 82, ม. 83, ม. 84, ม. 1618, ม. 1629, ม. 1676, ม. 1699
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที