Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 810 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 810 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 810” คืออะไร? 


“มาตรา 810” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 810 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น
              อนึ่ง สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเอง แต่โดยฐานที่ทำการแทนตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 810” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 810 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2565
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาอำพรางไม่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้และบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นชื่อจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 234
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 233, ม. 234, ม. 810


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2561
การตั้งตัวแทนเชิดเพื่อทำกิจการอันใด ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 798, ม. 810


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2559
การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ จำเลยเพียงต้องการได้เงินสดจากการนำเช็คของจำเลยที่มอบให้โจทก์ไปแลกเงินสดโดยจำเลยยอมเสียค่าตอบแทนให้โจทก์และยอมเสียดอกเบี้ยจากการนำเช็คไปแลกเงินสดโดยไม่คำนึงว่าจะแลกเช็คนั้นกับผู้ใด เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท 7 ฉบับ มอบให้แก่โจทก์เพื่อแลกเงินสด โดยโจทก์เป็นผู้นำเงินมามอบให้จำเลยเป็นการแลกเช็คพิพาทเสียเอง โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ไม่ใช่ตัวแทนของจำเลย ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงิน ทั้งข้อเท็จจริงที่นำสืบพยานมาไม่ปรากฏว่ามีการเรียกดอกเบี้ยกันในอัตราเท่าใด เพียงแต่โจทก์ได้ค่าตอบแทนในอัตราร้อยละ 2 ถึง 5 เท่านั้น จึงไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 และเมื่อโจทก์ไม่ใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจขอให้บังคับโจทก์รับผิดชำระเงินตามฟ้องแย้งหรือให้คืนเช็คตามฟ้องแย้งได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 810 วรรคหนึ่ง, ม. 904
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที