Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 81 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 81 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 81” คืออะไร? 


“มาตรา 81” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 81 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การขอจดทะเบียนสมาคมนั้น ให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ร่วมกันยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น พร้อมกับแนบข้อบังคับของสมาคม รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน และรายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมมากับคำขอด้วย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 81” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 81 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2527
โจทก์จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย บรรดาทรัพย์สินต่างๆรวมทั้งองค์เซียนแป๊ะโค้วย่อมตกเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เงินที่ประชาชนบริจาคในการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วและนำไปฝากไว้ในบัญชีนั้นถือว่าเป็นเงินที่บริจาคให้แก่องค์เซียนแป๊ะโค้ว จึงตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นเจ้าขององค์เซียนแป๊ะโค้ว เงินในบัญชีซึ่งเป็นเงินรายได้จากการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วนั้น คู่ความทราบในคดีก่อนแล้วว่าได้มีการตกลงกันให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารโดยมีเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้ตามมติของคณะกรรมการจัดงาน และให้จำเลยที่2 ที่ 3 และบ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในเช็คเพื่อเบิกจ่ายเงินจากบัญชี ดังนั้นการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้เรื่อยไปจนกว่าคดีจะเสร็จหรือถึงที่สุด หาใช่ข้อตกลงนี้เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาซึ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 ไม่ เมื่อระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 3 ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าเขตลาดกระบังแล้ว กลับมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คนใดคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีแทน โดยไม่บอกกล่าวแถลงศาลก่อนหรือแจ้งบอกกล่าวแก่คู่ความในคดีนั้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องแล้วยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจเบิกถอนเพราะขัดกับข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 3 มีส่วนทำละเมิดดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจและเบิกถอนก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ตามลำพัง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 81, ม. 87, ม. 420, ม. 421
ป.วิ.พ. ม. 260, ม. 264


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2527
โจทก์จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย บรรดาทรัพย์สินต่างๆรวมทั้งองค์เซียนแป๊ะโค้วย่อมตกเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เงินที่ประชาชนบริจาคในการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วและนำไปฝากไว้ในบัญชีนั้นถือว่าเป็นเงินที่บริจาคให้แก่องค์เซียนแป๊ะโค้ว จึงตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นเจ้าขององค์เซียนแป๊ะโค้ว
เงินในบัญชีซึ่งเป็นเงินรายได้จากการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วนั้น คู่ความทราบในคดีก่อนแล้วว่าได้มีการตกลงกันให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารโดยมีเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้ตามมติของคณะกรรมการจัดงาน และให้จำเลยที่2 ที่ 3 และบ.เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในเช็คเพื่อเบิกจ่ายเงินจากบัญชี ดังนั้นการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้เรื่อยไปจนกว่าคดีจะเสร็จหรือถึงที่สุด หาใช่ข้อตกลงนี้เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาซึ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 ไม่
เมื่อระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 3 ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าเขตลาดกระบังแล้ว กลับมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คนใดคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีแทนโดยไม่บอกกล่าวแถลงศาลก่อนหรือแจ้งบอกกล่าวแก่คู่ความในคดีนั้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องแล้วยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจเบิกถอนเพราะขัดกับข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1จึงทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 3 มีส่วนทำละเมิดดังกล่าวด้วยส่วนจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจและเบิกถอนก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ตามลำพัง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 81, ม. 87, ม. 420, ม. 421
ป.วิ.พ. ม. 260, ม. 264


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2521
กุฎีเจริญพาสน์หรือกุฎีเจ้าเซ็นเป็นทรัสต์การกุศล ทรัสตีจัดการตามความคิดเห็นไม่ผิดข้อบัญญัติศาสนาอิสลาม ไม่ทุจริตไม่เป็นเหตุที่จะถอดจากทรัสตี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 81
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที