Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 808 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 808 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 808” คืออะไร? 


“มาตรา 808” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 808 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ตัวแทนต้องทำการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอำนาจใช้ตัวแทนช่วงทำการได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 808” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 808 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8242/2555
หนังสือมอบอำนาจของ ก. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องคดีและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ และเมื่อ ธ. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ จ. ฟ้องคดีแล้ว ย่อมเป็นการอยู่ในขอบเขตตามหนังสือมอบอำนาจของ ก. แต่ส่วนที่ จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจะมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นต่อไปในการฟ้องคดีนี้อีกต่อหนึ่งย่อมอยู่นอกเขตแห่งหนังสือมอบอำนาจของ ก. ดังนั้น ส. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก จ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดี และเมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ย่อมไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ ๒ จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ ๒ จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 808
ป.วิ.พ. ม. 60 วรรคหนึ่ง, ม. 177 วรรคสาม


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา
ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ นอกจากนี้ในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินการแทนได้ภายในขอบเขตที่ได้ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ และปรากฏในหนังสือมอบอำนาจช่วงผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องราวลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืน อันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั่นเอง ถือได้ว่า ผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 36
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 808


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540
ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการดังกล่าวตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส.ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจและมอบอำนาจช่วงที่ได้แนบมาท้ายฟ้อง แม้วันที่ที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจช่วงจะเป็นวันที่ภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้องอันจะทำให้ ว.ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่
คดีนี้ยังมีประเด็นตามอุทธรณ์โจทก์และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย และหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วคดีอาจต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 192, ม. 808
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 240, ม. 242
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที