Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 807 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 807 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 807” คืออะไร? 


“มาตรา 807” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 807 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายของตัวการ เมื่อไม่มีคำสั่งเช่นนั้น ก็ต้องดำเนินตามทางที่เคยทำกันมาในกิจการค้าขายอันเขาให้ตนทำอยู่นั้น
              อนึ่ง บทบัญญัติมาตรา ๖๕๙ ว่าด้วยการฝากทรัพย์นั้น ท่านให้นำมาใช้ด้วยโดยอนุโลมตามควร “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 807” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 807 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2551
ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินการลงทุนลูกหนี้ในฐานะตัวแทนต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝืมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในการนำเงินของเจ้าหนี้ไปลงทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 807 วรรคสอง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม การที่ลูกหนี้นำเงินของเจ้าหนี้ไปซื้อลดตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท ก. และเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินสั่งจ่ายให้แก่ ม. กับมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นผู้อาวัล เป็นการลงทุนโดยไม่ปฏิบัติตามหนังสือยืนยันนโยบายการลงทุนที่ลูกหนี้มีถึงประธานคณะกรรมการของเจ้าหนี้ว่า จะลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตามที่ตัวการได้มอบหมาย ซึ่งผลปรากฏต่อมาว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้ แม้เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินจากผู้สั่งจ่าย ผู้อาวัล และผู้สลักหลัง กับได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้อาวัลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว แต่ไม่เป็นที่แน่นอนว่าเจ้าหนี้จะได้รับเงินครบถ้วนหรือไม่ การกระทำของลูกหนี้จึงเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 807, ม. 812


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2538
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า(1)ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่(2)โจทก์หรือจำเลยทั้งหกเป็นฝ่ายผิดสัญญา(3)โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่เพียงใดโจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่2ถึงที่6มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1เป็นผู้ขายและตั้งหรือเชิดจำเลยที่1หรือยอมให้จำเลยที่1เชิดตัวเองเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทจำเลยที่2ถึงที่6ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายกล่าวอ้างมาในฟ้องและที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตามมาตรา249แห่งบทบัญญัติดังกล่าวศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 807, ม. 821
ป.วิ.พ. ม. 142, ม. 172, ม. 183, ม. 246, ม. 247, ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2536
ตัวแทนโจทก์ในการบังคับคดียื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยและด้วยความสำคัญผิด ตัวแทนโจทก์ได้ระบุในคำแถลงด้วยว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว ทั้งที่ความจริงจำเลยยังชำระไม่ครบ การยื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จึงไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดีจำเลย โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนข้อความที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วได้เพื่อให้เป็นไปตามความจริง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 156, ม. 119 เดิม, ม. 800, ม. 807, ม. 820
ป.วิ.พ. ม. 138, ม. 295 (2)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที