Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 804 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 804 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 804” คืออะไร? 


“มาตรา 804” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 804 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าในสัญญาอันเดียวตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อแก่การอันเดียวกันไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะต่างคนต่างทำการนั้น ๆ แยกกันไม่ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 804” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 804 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2545
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ธ. กระทำการแทนผู้ร้อง โดยให้มีอำนาจยื่นคำร้องขอรับรถของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1769/2542 ของศาลจังหวัดนราธิวาสคืน อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งให้ ป. และ ธ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องได้ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องไม่ได้จำกัดว่าผู้รับมอบอำนาจแต่ละคนจะต้องกระทำการร่วมกันตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งจึงสามารถยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 800, ม. 801, ม. 804
ป.อ. ม. 33


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2545
หนังสือมอบอำนาจระบุไว้แจ้งชัดว่า บริษัทโจทก์โดย บ. ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจช่วงให้แก่ ณ. หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อจำเลยทั้งสองต่อศาลฐานผิดสัญญาเช่าซื้อ ค้ำประกัน กรณีจึงเป็นการมอบอำนาจให้ ณ.หรือ ส. คนใดคนหนึ่งฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเท่านั้น กิจการที่ ณ. หรือ ส. กระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องจำเลยทั้งสองเพียงครั้งเดียวเท่านั้น หาได้กระทำแยกกันต่างคนต่างฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันมากกว่าครั้งเดียวไม่ แม้ ส. จะเป็นผู้แต่งตั้งทนายความ และ ณ. เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่ากิจการที่บุคคลทั้งสองกระทำเป็นกิจการเดียวกัน จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ข้อ 7(ก) เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ 30 บาท จึงสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ข้อ 7(ก) แล้ว หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 798, ม. 800, ม. 801, ม. 804
ป.รัษฎากร ม. 104, ม. 118
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ก)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2486
ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนไปทำสัญญาในนามของห้างหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนย่อมมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญานั้นได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นแม้ตั้งผู้จัดการไว้สองคน ผู้จัดการแต่ละคนก็มีอำนาจจัดการได้ตามลำพัง ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนไปทำสัญญาในนามของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ตกอยู่ในบังคับ มาตรา 801,804แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศาลไม่สงสัยความแท้จริงของใบมอบอำนาจให้ฟ้องความและอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่คัดค้านความแท้จริง ดังนี้ ไม่ต้องทำตามแบบใน มาตรา 47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 798, ม. 801, ม. 804, ม. 808, ม. 1035
ป.วิ.พ. ม. 47
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที