Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 803 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 803 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 803” คืออะไร? 


“มาตรา 803” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 803 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ เว้นแต่จะได้มีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่ามีบำเหน็จ หรือทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันนั้นเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ หรือเคยเป็นธรรมเนียมมีบำเหน็จ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 803” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 803 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2547
หลักฐานเอกสารที่โจทก์ระบุอ้างว่าได้มีการทำสัญญารับขนของทางทะเลนั้นเป็นเพียงตารางการเดินเรือที่จำเลยที่ 1 ได้รับมาจากจำเลยที่ 2 แล้วนำมาส่งให้โจทก์ทราบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าจะส่งสินค้าไปกับเรือหรือไม่ ในใบตราส่งซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเลก็ไม่มีชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง แม้จะมีชื่อบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ระบุว่าได้ลงชื่อในช่องผู้ขนส่งไว้ในฐานะเป็นตัวแทนผู้ขนส่ง นอกจากนี้ตามสัญญารับขนของทางทะเลผู้ขนส่งจะต้องได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าระวางเรือ แต่จำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนจากโจทก์เป็นบำเหน็จตัวแทนที่เกิดจากส่วนต่างของค่าระวางเรือที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บจากโจทก์หักด้วยค่าระวางเรือที่จำเลยที่ 1 ได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 เมื่อได้รับค่าระวางเรือไว้ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งก็ต้องส่งไปให้ตัวการซึ่งเป็นผู้ขนส่ง ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับค่าตอบแทนในลักษณะเป็นตัวแทนนายหน้า จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นเพียงตัวแทนในการดำเนินการขนส่งของทางทะเลให้แก่โจทก์โดยรับค่าตอบแทนเป็นค่าบำเหน็จ หาใช่เป็นผู้ขนส่งซึ่งได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าระวางเรือไม่ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายที่เกิดจากการที่สินค้าพิพาทส่งไปไม่ถึงท่าเรือปลายทางตามกำหนดเวลา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 803, ม. 845
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ม. 3


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2526
การที่ชาวไร่หรือที่เรียกว่าสมาชิกผู้รับการส่งเสริมจะรับสินเชื่อไปจากโจทก์จะต้องทำสัญญาส่งเสริมการปลูกฝ้ายกับห้างจำเลยซึ่งเรียกว่าผู้ส่งเสริมก่อน และต้องเอาฝ้ายดอกมาขายให้จำเลยแต่ผู้เดียวตามราคาที่จำเลยกำหนดไว้ในสัญญา แล้วหักทอนกับสินเชื่อที่รับไป เท่ากับจำเลยออกทุนให้ปลูกฝ้ายแล้วเอาผลิตผลมาขายหักใช้หนี้ ระหว่างที่โจทก์รับเอาสินเชื่อไปจ่ายแก่สมาชิก จำเลยก็มีจดหมายถึงโจทก์ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายสินเชื่อโจทก์จึงเป็นตัวแทนจำเลยทั้งในการนำวัสดุสินเชื่อตลอดจนเงินสดและเช็คไปจ่ายแก่สมาชิก และรวบรวมฝ้ายดอกจากสมาชิกมาขายให้จำเลยโจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จจากจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 803


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2526
การที่ชาวไร่หรือที่เรียกว่าสมาชิกผู้รับการส่งเสริมจะรับสินเชื่อไปจากโจทก์ จะต้องทำสัญญาส่งเสริมการปลูกฝ้ายกับห้างจำเลยซึ่งเรียกว่าผู้ส่งเสริมก่อน และต้องเอาฝ้ายดอกมาขายให้จำเลยแต่ผู้เดียวตามราคาที่จำเลยกำหนดไว้ในสัญญา แล้วหักทอนกับสินเชื่อที่รับไป เท่ากับจำเลยออกทุนให้ปลูกฝ้ายแล้วเอาผลิตผลมาขายหักใช้หนี้ ระหว่างที่โจทก์รับเอาสินเชื่อไปจ่ายแก่สมาชิก จำเลยก็มีจดหมายถึงโจทก์ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายสินเชื่อ โจทก์จึงเป็นตัวแทนจำเลยทั้งในการนำวัสดุสินเชื่อตลอดจนเงินสดและเช็คไปจ่ายแก่สมาชิก และรวบรวมฝ้ายดอกจากสมาชิกมาขายให้จำเลย โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จจากจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 797, ม. 803
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที