Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 79 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 79 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 79” คืออะไร? 


“มาตรา 79” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 79 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ข้อบังคับของสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
              (๑) ชื่อสมาคม
              (๒) วัตถุประสงค์ของสมาคม
              (๓) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง
              (๔) วิธีรับสมาชิก และการขาดจากสมาชิกภาพ
              (๕) อัตราค่าบำรุง
              (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ
              (๗) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคม การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคม
              (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 79” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 79 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2533
การที่ผู้คัดค้านไม่เห็นพ้องด้วยกับการแต่งตั้งกรรมการใหม่8 คน ของมูลนิธินั้น มิได้แสดงว่าความเห็นของผู้คัดค้านจะถูกต้องเสมอไป การแต่งตั้งกรรมการในกรณีเช่นนี้ย่อมจะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนพอใจได้ยาก การขัดแย้งกันในด้านความเห็นย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา การที่กรรมการใหม่ปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงกับผู้คัดค้านก็มิได้แสดงว่าผู้คัดค้านเป็นฝ่ายที่ปฏิบัติศาสนกิจถูกต้องกว่ากรรมการใหม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 79


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2525
นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ถูกทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีไว้แล้ว ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และมาตรา 1259 ถือว่าเป็นผู้กระทำแทนบริษัทดังกล่าวอยู่แล้ว เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่สภาพการเป็นผู้แทนของบริษัทอย่างเช่นแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 45 ยังมีอยู่ หาได้ขาดผู้เแทนแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้แต่อย่างใดไม่กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 79,80แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งคำขอของผู้ร้องเป็นการขอเป็นผู้แทนเฉพาะการของบริษัทโดยห้ามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการขัดขวางอำนาจจัดการบริษัทดังกล่าวซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ไม่มีกฎหมายสนับสนุน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 79, ม. 80, ม. 1250, ม. 1259
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 45
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที