Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 789 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 789 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 789” คืออะไร? 


“มาตรา 789” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 789 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าได้แยกประทวนสินค้าออกสลักหลังจำนำแล้ว จะรับเอาสินค้าได้แต่เมื่อเวนคืนทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
              แต่ว่าผู้ทรงใบรับของคลังสินค้าอาจให้คืนสินค้าแก่ตนได้ในเวลาใด ๆ เมื่อวางเงินแก่นายคลังสินค้าเต็มจำนวนหนี้ซึ่งลงไว้ในประทวนสินค้า กับทั้งดอกเบี้ยจนถึงวันกำหนดชำระหนี้นั้นด้วย
              อนึ่ง จำนวนเงินที่วางเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องชำระแก่ผู้ทรงประทวนสินค้าในเมื่อเขาเวนคืนประทวนนั้น “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 789” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 789 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2528
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน เอกสารที่กฎหมายต้องการคือสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งโจทก์ได้แนบสำเนาดังกล่าวมาพร้อมกับฟ้องแล้ว ส่วนปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ล.เป็นตัวแทนลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าได้มอบอำนาจให้ ล. เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจมาพร้อมกับฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อทำหนังสือมอบอำนาจให้ ล.ลงนามในสัญญาเซ่าซื้อแทนโจทก์ สัญญาเช่าซื้อก็ระบุว่าโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ล.ย่อมมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ให้เช่าซื้อและประทับตราของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ได้แม้ในสัญญาเช่าซื้อจะไม่ได้ระบุว่า ล.กระทำการแทนโจทก์ โจทก์ก็นำสืบถึงความข้อนี้ได้เพราะเป็นการสำสืบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับตัวแทนว่าความจริงเป็นอย่างไร ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 572, ม. 789
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 94, ม. 172


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805 - 1806/2506
การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างสถานที่แห่งหนึ่ง แม้จะจ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างอีกต่อหนึ่งก็ตาม แต่ระหว่างก่อสร้างได้ปักป้ายว่าตนเป็นเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและบางครั้งก็ไปตรวจงานเองหรือมอบให้คนอื่น ไปตรวจแทน การส่งมอบงานและรับเงินแต่ละงวดจำเลยที่ 1 ก็ทำเองโดยตรงเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนแล้ว จึงต้องรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ไปซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้างต่อบุคคลภายนอกด้วย
สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์เป็นเงินเกินกว่าห้าร้อยบาท เมื่อผู้ซื้อได้รับของไปแล้ว ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ฉะนั้น การตั้งตัวแทนก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 456, ม. 789, ม. 820, ม. 821
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที