Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 78 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 78 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 78” คืออะไร? 


“มาตรา 78” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 78 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ “

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "สมาคม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 78” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 78 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2530
เช็คพิพาทออกให้แก่ผู้ถือ ผู้ใดครอบครองเช็คนั้น ในเบื้องต้นต้องถือว่า เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้เช็คมาจากผู้ใดและในฐานะอย่างไรทั้งฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับเช็คมาจากผู้มีชื่อเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าวโดยชอบ ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่

โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้รับเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือจาก ต. โดยการแลกเงินสดไปจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 เล่นแชร์เป็นการส่วนตัว ไม่ทราบว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไรนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 ข้อนำสืบดังกล่าวหาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจากความรับผิดตามเช็คไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 172
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 78, ม. 900, ม. 1167


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2530
เช็คพิพาทออกให้แก่ผู้ถือ ผู้ใดครอบครองเช็คนั้น ในเบื้องต้นต้องถือว่า เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้เช็คมาจากผู้ใดและในฐานะอย่างไร ทั้งฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับเช็คมาจากผู้มีชื่อเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าวโดยชอบ ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่ โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้รับเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือจาก ต. โดยการแลกเงินสดไปจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 1นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 เล่นแชร์ เป็นการส่วนตัว ไม่ทราบว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไรนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 ข้อนำสืบดังกล่าวหาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจากความรับผิดตามเช็คไม่.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 172
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 78, ม. 900, ม. 1167


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้อง แต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 78, ม. 153, ม. 154, ม. 1144, ม. 1164, ม. 1167
ป.วิ.พ. ม. 172, ม. 177, ม. 225, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที