Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 772 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 772 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 772” คืออะไร? 


“มาตรา 772” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 772 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บทบัญญัติมาตรา ๖๑๖, ๖๑๙, ๖๒๓, ๖๒๕, ๖๓๐, ๖๓๑ และ ๖๓๒ อันว่าด้วยการรับขนนั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้า อนุโลมตามควรแก่บท “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 772” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 772 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2548
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของตน มิฉะนั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายนั้นต่อผู้รับตราส่ง การที่จำเลยที่ 1 ต้องฝากสินค้าที่ขนส่งไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะถูกบังคับโดยกฎหมายศุลกากรเพื่อเสียภาษีศุลกากรและตามกฎหมายการบินระหว่างประเทศ (IATA) เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติเพื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้รับตราส่งต่อไป สินค้าที่ขนส่งยังไม่พ้นไปจากความดูแลหรือความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ดังนั้น แม้เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งจะเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ก็ถือได้ว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้น
คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วม มิได้ทำนิติกรรมว่าจะร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งแต่อย่างใด ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ นายคลังสินค้า และผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 นายคลังสินค้าและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 291, ม. 616, ม. 623, ม. 772, ม. 877


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2533
พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 29(1)และ มาตรา 9(4) ให้คณะกรรมการจำเลยมีอำนาจวางข้อบังคับและระเบียบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9(4) คือ จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยจักต้องรับผิด เมื่อจำเลยออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่ให้ผู้ฝากสินค้ากับจำเลยต้องเสนอข้อเรียกร้องค่าเสียหายภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันรับมอบสินค้าขึ้นฝ่ายเดียว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นมาอ้างให้พ้นความรับผิดได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 112, ม. 616, ม. 772
พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ม. 9 (4), ม. 29 (1)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529 - 1530/2531
แม้การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยจะเป็นผู้ทำการเก็บรักษาสินค้า แต่ก็ปรากฏว่าการรับฝากสินค้า 3 วันแรก จำเลยไม่คิดค่าฝาก หากเจ้าของสินค้าไม่มารับสินค้านั้นภายใน 3 วัน จำเลยจะคิดค่าฝากในอัตราก้าวหน้า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าโดยเร็ว และการที่เจ้าของสินค้าฝากสินค้าดังกล่าวไว้ก็เพื่อรอผ่านพิธีทางศุลกากร เช่นนี้ การที่จำเลยรับทำการเก็บรักษาสินค้าก็เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษี หาใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนไม่ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772 ประกอบมาตรา616 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยหาได้ไม่
แม้เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงพักสินค้าของจำเลยจะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ไม่ได้ความว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย เนื่องจากในวันเวลาเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ของจำเลยและกรมศุลกากรได้ร่วมกันปิดประตูโรงพักสินค้าตามระเบียบของจำเลยแล้ว เมื่อเกิดเพลิงไหม้ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิง 2 คันมาช่วยดับเพลิง แต่ไม่อาจดับได้ทันท่วงทีเพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าที่เกิดเหตุได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจเข้าไปดับให้ถึงต้นเพลิงหรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ พฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์ที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ต้องถูกไฟไหม้เสียหาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 616, ม. 659, ม. 770, ม. 772
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที