Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 767 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 767 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 767” คืออะไร? 


“มาตรา 767” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 767 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่าผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น
              ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระ ท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 767” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 767 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2558
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 และฉบับลงวันที่ 5 เมษายน 2549 และหนี้ค่าประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนองซึ่งบริษัท ค. เป็นผู้กู้และผู้จำนอง ส่วนลูกหนี้ที่ 2 เป็นเพียงผู้จำนำใบหุ้นเลขที่ 58 - 59 ทะเบียนผู้ถือหุ้นเลขที่ 2850001 ถึง 2950000 จำนวน 100,000 หุ้น เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวต่อเจ้าหนี้เท่านั้น มิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นที่เมื่อบังคับจำนำได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระแล้วยังจะต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 767 วรรคสอง อีกทั้งตามข้อตกลงในสัญญาจำนำ ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว หรือหากบังคับจำนำแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกันและเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ภายในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) ได้ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้าย
แม้เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้วไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกัน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะกลับไปขอใช้สิทธิให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกไม่ได้ ประกอบกับเมื่อบริษัท ค. ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะบังคับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้เองอยู่แล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 764 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนำได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 764, ม. 767 วรรคสอง
ม. 95, ม. 96 (3)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 11, ม. 132, ม. 291, ม. 368, ม. 767
ป.วิ.พ. ม. 94, ม. 237


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 11, ม. 132, ม. 291, ม. 368, ม. 767
ป.วิ.พ. , ม. 237
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที