Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 763 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 763 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 763” คืออะไร? 


“มาตรา 763” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 763 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีดังจะกล่าวต่อไปนี้ เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันส่งคืน หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนำ คือ
              (๑) ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันผู้รับจำนำก่อให้เกิดแก่ทรัพย์สินจำนำ
              (๒) ฟ้องเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษาทรัพย์สินจำนำ
              (๓) ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่ผู้รับจำนำ เพราะความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์ “

 


1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 763” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 763 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2525
โจทก์มอบแจกันพิพาทให้แก่จำเลยไว้เป็นประกันเงินกู้เข้าลักษณะจำนำตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 โจทก์ได้ชำระหนี้และรับแจกันคืนมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2522 พบว่าแจกันปากแตกบิ่นจึงฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันผู้รับจำนำก่อให้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2522 พ้น 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินจำนำตาม มาตรา 763(1) คดีขาดอายุความแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 747, ม. 763
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที