Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 754 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 754” คืออะไร? 


“มาตรา 754” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 754 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้แห่งสิทธิต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสิทธิให้แก่ผู้รับจำนำ และทรัพย์สินนั้นก็กลายเป็นของจำนำแทนสิทธิซึ่งจำนำ
              ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงิน และถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนำและผู้จำนำร่วมกัน ถ้าและเขาทั้งสองนั้นไม่ปรองดองตกลงกันได้ ท่านว่าแต่ละคนชอบที่จะเรียกให้วางเงินจำนวนนั้นไว้ ณ สำนักงานฝากทรัพย์ได้เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 754” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 754 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2548
โจทก์เป็นนิติบุคคล ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุให้คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงให้เป็นไปตามข้อบังคับและตามมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งรวมทั้งให้ฟ้องต่อสู้คดีหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการมีมติที่ประชุมให้ ณ รองประธานกรรมการเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ เท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีเอง กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 801 (5) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ ณ ดำเนินการแต่อย่างใด
บ. เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์แต่งตั้ง บ. เป็นผู้แทนโจทก์ในกิจการใด ๆ แม้ บ. จะรู้ถึงการตายของ ว. สามีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 ก็หาใช้เป็นการรับรู้ของโจทก์ไม่ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวกับการตายของ ว. ด้วย ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งรู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ว. ในวันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 66, ม. 70, ม. 801 (5), ม. 754 วรรคสาม


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2528
จำเลยทำสัญญากับธนาคารผู้คัดค้านไว้ว่า จำเลยยอมมอบเงินฝากประจำของจำเลยพร้อมด้วยใบรับฝากไว้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยต่อธนาคารถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ได้ทันที และตราบใดที่ธนาคารยังไม่ได้รับชำระหนี้ จำเลยจะไม่ถอนเงินฝาก และจะไม่กระทำการใดให้เป็นการเสื่อมสิทธิในหลักประกันหนังสือสัญญา ดังกล่าวเป็นการจำนำสิทธิตามตราสารใบรับฝากเงินประจำของจำเลย เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารผู้คัดค้านตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา747,750 ธนาคารผู้คัดค้าน เป็นผู้รับจำนำสิทธิตามตราสารนั้นจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่ง มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม
สิทธิซึ่งจำนำตามตราสารใบรับฝากเงินเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 754 วรรคสอง จำเลยได้ตกลงกับธนาคารผู้คัดค้านให้หักเงินฝากของจำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องนำไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนำธนาคารผู้คัดค้านจึงมีสิทธิ หักเงินฝากประจำของจำเลยซึ่งจำนำต่อธนาคารไว้นั้นเอาชำระหนี้ธนาคารได้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน
ธนาคารผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยอยู่ก่อนพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 102 โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของจำเลยและ สิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรานี้ย่อมกระทำได้แม้จะเป็นเวลาหลังพิทักษ์ทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิ ขอเพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2453/2527 ประชุมใหญ่)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 747, ม. 750, ม. 754 วรรคสอง, ม. 764 วรรคสอง
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 95, ม. 102, ม. 110 วรรคสาม, ม. 115


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2528
จำเลยทำสัญญากับธนาคารผู้คัดค้านไว้ว่า จำเลยยอมมอบเงินฝากประจำของจำเลยพร้อมด้วยใบรับฝากไว้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยต่อธนาคาร ถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ได้ทันทีและตราบใดที่ธนาคารยังไม่ได้รับชำระหนี้ จำเลยจะไม่ถอนเงินฝากและจะไม่กระทำการใดให้เป็นการเสื่อมสิทธิในหลักประกัน หนังสือสัญญา ดังกล่าวเป็นการจำนำสิทธิตามตราสารใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารผู้คัดค้านตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา747, 750 ธนาคารผู้คัดค้านเป็นผู้รับจำนำสิทธิตามตราสารนั้น จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม
สิทธิซึ่งจำนำตามตราสารใบรับฝากเงินเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 754 วรรคสอง จำเลยได้ตกลงกับธนาคารผู้คัดค้านให้หักเงินฝากของจำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องนำไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนำธนาคารผู้คัดค้านจึงมีสิทธิหักเงินฝากประจำของจำเลยซึ่งจำนำต่อธนาคารไว้นั้นเอาชำระหนี้ธนาคารได้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน
ธนาคารผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยอยู่ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 102 โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของจำเลย และสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรานี้ย่อมกระทำได้แม้จะเป็นเวลาหลังพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิขอเพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2453/2527 ประชุมใหญ่)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 747, ม. 750, ม. 754 วรรคสอง, ม. 764 วรรคสอง
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 95, ม. 102, ม. 110 วรรคสาม, ม. 115.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที