Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 753 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 753 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 753” คืออะไร? 


“มาตรา 753” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 7503“ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าจำนำใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บริษัทหรือบุคคลภายนอก เว้นแต่จะได้จดลงทะเบียนการจำนำนั้นไว้ในสมุดของบริษัทตามบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ ๒๒ ว่าด้วยการโอนหุ้นหรือหุ้นกู้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 753” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 753 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2522
โจทก์จำนำใบหุ้นกับธนาคารจำเลยประกันหนี้ของ บ. ต่อจำเลย บ. เป็นลูกหนี้คนภายนอกโดยจำเลยค้ำประกันจำเลยใช้หนี้ของ บ. แก่คนภายนอก บ. ย่อมตกเป็นลูกหนี้จำเลยในเงินที่จำเลยใช้แทนไปแล้วและที่จะต้องใช้แทนในภายหน้า จำนำใบหุ้นจึงยังผูกพันโจทก์อยู่โจทก์เรียกใบหุ้นคืนจากจำเลยไม่ได้
ข้อความในเอกสารจำนำใบหุ้นแสดงเจตนาแท้จริงชัดแจ้งอยู่แล้วไม่ต้องสืบพยานบุคคลตีความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 132, ม. 680, ม. 753


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2512
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บทกฎหมายใดที่ขัดกับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรย่อมจะนำมาใช้บังคับไม่ได้. คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย. ผู้ใดจะอ้างว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อกฎหมายนั้น ย่อมฟังไม่ได้.

การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17หรือไม่นั้น. อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่. และมาตรา 17 มิได้ระบุให้ใช้มาตรการเช่นนั้นแก่ผู้กระทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะ. แต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่เป็นการบ่อนทำลาย. แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้วแต่ผลแห่งการกระทำยังอยู่ ผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วยย่อมอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 494/2510).
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินบริษัทบางกอกกระสอบ จำกัด โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน.จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้กู้. จำเลยที่2 ในฐานะเจ้าของร่วม ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กู้เงินรายนี้. โดยได้สมรู้ร่วมกันกับบริษัทเจ้าหนี้ปกปิดอำพรางนิติกรรมอันแท้จริงไว้ โดยให้เอาชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ไว้เป็นพิธี และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน. หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การทำสัญญากู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาลวงไว้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันอยู่แล้ว. เมื่อนิติกรรมทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่1 ก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118. (ข้อกฎหมายวรรคนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่23,24,25,26,27,28/2512).
สัญญาจำนำไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ. ลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 118, ม. 747, ม. 753, ม. 797
ป.วิ.พ. ม. 94
ธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร ม. 17


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2512
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บทกฎหมายใดที่ขัดกับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรย่อมจะนำมาใช้บังคับไม่ได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ใดจะอ้างว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อกฎหมายนั้น ย่อมฟังไม่ได้
การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่นั้น อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่ และมาตรา 17 มิได้ระบุให้ใช้มาตรการเช่นนั้นแก่ผู้กระทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะ แต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่เป็นการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้วแต่ผลแห่งการกระทำยังอยู่ ผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วยย่อมอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 494/2510)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินบริษัทบางกอกกระสอบ จำกัด โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้กู้ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของร่วม ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กู้เงินรายนี้ โดยได้สมรู้ร่วมกันกับบริษัทเจ้าหนี้ปกปิดอำพรางนิติกรรมอันแท้จริงไว้ โดยให้เอาชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ไว้เป็นพิธี และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การทำสัญญากู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาลวงไว้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันอยู่แล้ว เมื่อนิติกรรมทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 (ข้อกฎหมายวรรคนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23,24,25, 26,27,28/2512)
สัญญาจำนำไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 118, ม. 747, ม. 753, ม. 797
ป.วิ.พ. ม. 94
ธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร ม. 17
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที