Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 746 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 746 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 746” คืออะไร? 


“มาตรา 746” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 746 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การชำระหนี้ไม่ว่าครั้งใด ๆ สิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนก็ดี การระงับหนี้อย่างใด ๆ ก็ดี การตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนองหรือหนี้อันจำนองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนำความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเมื่อมีคำขอร้องของผู้มีส่วนได้เสีย มิฉะนั้นท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 746” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 746 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2533
เมื่อศาลล่างทั้งสองไม่ได้นำเอาคำเบิกความของพยานโจทก์ตามบัญชีระบุพยาน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นหลังจากที่สืบพยานจำเลยเสร็จแล้วมาวินิจฉัยในการฟังข้อเท็จจริง ฉะนั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ฉบับดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบว่าใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้างเป็นการออกให้เพื่อการชำระหนี้จำนวนใดได้ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารและไม่เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ก)และ(ข).
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 326, ม. 746, ม. 850
ป.วิ.พ. ม. 94 (ก), ม. 94 (ข), ม. 249 วรรคแรก


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179 - 5180/2533
เมื่อศาลล่างทั้งสองไม่ได้นำเอาคำเบิกความของพยานโจทก์ตามบัญชีระบุพยาน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นหลังจากที่สืบพยานจำเลยเสร็จแล้วมาวินิจฉัยในการฟังข้อเท็จจริง ฉะนั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ฉบับดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบว่าใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้างเป็นการออกให้เพื่อการชำระหนี้จำนวนใดได้ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารและไม่เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ก) และ (ข).
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. , ม. 746, ม. 850
ป.วิ.พ. , , ม. 249 วรรคแรก


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2521
ผู้จำนองชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้วผู้รับจำนองจะยึดโฉนดไว้ไม่จดทะเบียนรับไถ่และคืนโฉนดแก่ผู้จำนองไม่ได้การที่ผู้รับจำนองเป็นเจ้าหนี้เจ้าของร่วมคนอื่นในหนี้รายอื่น ไม่ทำให้มีสิทธิ ยึดหน่วงโฉนดไว้ได้ผู้จำนองฟ้องบังคับให้จดทะเบียนไถ่จำนองและ เรียกโฉนดคืนได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 241, ม. 746
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที