Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 732 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 732 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 732” คืออะไร? 


“มาตรา 732” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 732 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ทรัพย์สินซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินเป็นจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านให้จัดใช้แก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีก ก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 732” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 732 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14202/2555
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 289 จะบัญญัติว่า "ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด..." ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด เพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนองและเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้รับจำนองให้ได้รับจัดสรรการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวโดยจะสะดวกกว่าให้ผู้รับจำนองไปฟ้องบังคับแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในภายหลังเท่านั้น แต่ถ้าผู้รับจำนองไม่ยื่นคำร้องขอภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองต้องหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 287 อีกทั้งสิทธิรับจำนองเป็นทรัพยสิทธิซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมาย จะระงับสิ้นไปก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744 ดังนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงมีบุริมสิทธิที่จะบังคับเหนือทรัพย์พิพาทก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วยและเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้องแล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 732 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 732, ม. 744
ป.วิ.พ. ม. 287, ม. 289


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2553
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีแพ่งซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่ 1 ออกขายทอดตลาดแล้วแต่ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งริบมัดจำจำนวน 47,651 บาท ของผู้ซื้อและจ่ายชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องแล้ว เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้น ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินจำนวนสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับและถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนองต่อมาเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดและผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่แล้วปรากฏว่าเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดใหม่รวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้อง จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ย่อมกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินจำนองดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 96 (3)
ป.พ.พ. ม. 732


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2553
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้ผู้ร้องคืนเงินจำนวน 47,651 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ไม่ใช่คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่เนื่องจากมีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดอาศัยอำนาจตามมาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องได้
เงินที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ริบ เนื่องจากผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งจำนองแก่ผู้ร้อง เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้นซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง เมื่อผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่อีกครั้งหนึ่งได้ราคาเมื่อรวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าเป็นกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 732
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ม. 24 วรรคสอง, ม. 26 วรรคสี่
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 96 (3)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที