Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 729 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 729 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 729” คืออะไร? 


“มาตรา 729” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 729 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในการบังคับจำนองตามมาตรา 728 ถ้าไม่มีการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นอันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้ ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดภายในบังคับแห่งเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้แทนการขายทอดตลาดก็ได้
              (๑) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี และ
              (๒) ผู้รับจำนองแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นน้อยกว่าจำนวนเงินอันค้างชำระ
              มาตรา 729/13  เวลาใด ๆ หลังจากที่หนี้ถึงกำหนดชำระ ถ้าไม่มีการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นอันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้ ผู้จำนองมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้รับจำนองเพื่อให้ผู้รับจำนองดำเนินการให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาล โดยผู้รับจำนองต้องดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งนั้น ทั้งนี้ ให้ถือว่าหนังสือแจ้งของผู้จำนองเป็นหนังสือยินยอมให้ขายทอดตลาด
              ในกรณีที่ผู้รับจำนองไม่ได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ผู้จำนองพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
              เมื่อผู้รับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองได้เงินสุทธิจำนวนเท่าใด ผู้รับจำนองต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์ให้เสร็จสิ้นไป ถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนอง หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น แต่ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๓๓ และในกรณีที่ผู้จำนองเป็นบุคคลซึ่งจำนองทรัพย์สินเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ผู้จำนองย่อมรับผิดเพียงเท่าที่มาตรา ๗๒๗/๑ กำหนดไว้ “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "บังคับจำนอง" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "บังคับจำนอง" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 729” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 729 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปี เท่านั้น โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2530เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดิน ของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัว อยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงิน ที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3) นั้นปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับ วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 729, ม. 745
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 87, ม. 142, ม. 142 (3), ม. 249


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปีเท่านั้น
โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดินของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัวอยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3) นั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 729, ม. 745
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 87, ม. 142, ม. 142 (3), ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2541
ที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าทรัพย์จำนองนั้นไม่มีราคาสูงกว่าหนี้ค้างชำระคลาดเคลื่อนต่อเงื่อนไข ซึ่งกำหนดหน้าที่ของฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์ไว้ชัดเจนแล้วว่าผู้จำนองต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินนั้นท่วมเงินอันค้างชำระนั้นเมื่อปรากฏว่าที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนอง มีราคาประมาณ 64,500 บาท แต่มีหนี้ทั้งหมดเพียง 26,290 บาท และคดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนั้นไม่ว่าฝ่ายใดจะมีภาระการพิสูจน์ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปข้อกฎหมายที่โจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 729
ป.วิ.พ. ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที