“มาตรา 721 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 721” คืออะไร?
“มาตรา 721” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 721 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ จำนองไม่ครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เว้นแต่ในเมื่อผู้รับจำนองได้บอกกล่าวแก่ผู้จำนองหรือผู้รับโอนแล้วว่าตนจำนงจะบังคับจำนอง “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 721” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 721 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2531
ค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองพึงจะบังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 721 นั้น ต้องเป็นค่าเช่าซึ่งเกิดจากการเช่าที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนอง มิใช่หมายความถึงค่าเช่าที่โจทก์คาดหมายว่าอาจให้เช่าได้จำนวนหนึ่งโดยไม่มีการเช่าอยู่จริง เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มอบหมายให้ อ. มารดาจำเลยเป็นผู้ดูแลรักษาที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่โจทก์รับจำนองไว้ในระหว่างการขายทอดตลาด จึงไม่มีการเช่าและไม่มีค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงจะบังคับจำนองได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 111 (2), ม. 721
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2530
ค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยที่จะพึงบังคับจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 721 นั้น ต้องเกิดจากการเช่าที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่ใช่ค่าเช่าที่คาดหมายว่าอาจให้เช่าได้จำนวนหนึ่งโดยไม่มีการเช่าอยู่เลย.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 111, ม. 721
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2530
ดอกผล แห่งทรัพย์สินที่จำนองซึ่งผู้รับจำนองจะบังคับเอาได้นั้น ถ้า เงินค่าเช่าที่ดินและบ้านที่จำนองอันเป็นดอกผล นิตินัยแล้วจะต้องเป็นการเช่า ที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่ใช่ไม่มีการเช่า อยู่เลยแล้วคาดหมายว่าอาจให้เช่า และได้ค่าเช่าจำนวนหนึ่งในภาคหน้า ฉะนั้นค่าเช่าที่ดินและบ้านที่จำนองซึ่งโจทก์คาดว่าจะได้ในภาคหน้า ดังกล่าวจึงไม่ใช่ดอกผล ที่โจทก์ผู้รับจำนองจะพึงบังคับจำนองเอาตาม ป.พ.พ.มาตรา 721 ได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 111, ม. 721