Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 720 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 720 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 720” คืออะไร? 


“มาตรา 720” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 720 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ จำนองเรือนโรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งได้ทำขึ้นไว้บนดินหรือใต้ดิน ในที่ดินอันเป็นของคนอื่นเขานั้นย่อมไม่ครอบไปถึงที่ดินนั้นด้วย ฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 720” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 720 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่1และที่2กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่เป็นธรรมจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทางภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วงมะพร้าวและกล้วยมิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา21(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา22เพราะมาตรา22ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา21ก็ได้ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา21เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา11ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนจำเลยที่2มีหนังสือลงวันที่8กุมภาพันธ์2534แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15วันนับแต่วันหนังสือโจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2534แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าวจำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา28วรรคสองซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่2ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด15วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่14มีนาคม2534จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่14มีนาคม2534หาใช่วันที่11สิงหาคม2533ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่2นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้วสำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1และที่2ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใดจึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 76, ม. 720
ป.วิ.พ. ม. 84
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 6, ม. 10, ม. 11, ม. 21, ม. 22, ม. 26
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพ
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงหนองบอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3916/2525
สิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ปลูกอยู่บนที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ในส่วนที่เป็นที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินจากจำเลยที่ 2 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ปล่อยที่ดินส่วนดังกล่าวซึ่งมิใช่เป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288
สำหรับสิ่งปลูกสร้างที่ผู้ร้องรับจำนองไว้จากจำเลยที่ 1นั้น ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิที่จะยึดและนำออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้ ผู้ร้องชอบที่จะขอรับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา289 หรือหากผู้ร้องไม่ขอรับชำระหนี้จำนอง สิทธิจำนองของผู้ร้องซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือสิ่งปลูกสร้างนั้นก็ไม่ถูกกระทบกระทั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยสิ่งปลูกสร้างนั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 109, ม. 702, ม. 720
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 280, ม. 287, ม. 288, ม. 289


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2516
ผู้ที่มิใช่เจ้าของทรัพย์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำทรัพย์นั้นไปจำนอง

แม้เอกสารต่อท้ายสัญญาจำนองจะมีข้อความระบุว่าผู้จำนองได้จำนองสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้ปลูกสร้างขึ้นภายหลังจำนองด้วย ข้อความดังกล่าวก็ย่อมหมายถึงสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองเท่านั้น ไม่รวมถึงทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกด้วย ผู้รับจำนองจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายสิ่งปลูกสร้างของบุคคลภายนอกซึ่งได้ปลูกสร้างไว้บนที่ดินของผู้จำนอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 702, ม. 705, ม. 719, ม. 720
ป.วิ.พ. ม. 289
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที