Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 712 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 712 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 712” คืออะไร? 


“มาตรา 712” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 712 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ แม้ถึงว่ามีข้อสัญญาเป็นอย่างอื่นก็ตาม ทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้แก่บุคคลคนหนึ่งนั้น ท่านว่าจะเอาไปจำนองแก่บุคคลอีกคนหนึ่งในระหว่างเวลาที่สัญญาก่อนยังมีอายุอยู่ก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 712” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 712 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2552
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากสารบัญจดทะเบียนที่ดินได้ความว่า จำเลยที่ 2 นำที่ดินไปจดทะเบียนและเพิ่มเงินจำนองไว้แก่โจทก์หลายครั้ง คือ จำนองเป็นประกันลำดับแรกและจำนองเป็นประกันลำดับสอง ซึ่งหมายถึง มีการจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ในมูลหนี้ต่างรายกัน รวม 2 ราย ส่วนรายละเอียดของการโอนสิทธิจำนองในหนี้สินรายใดย่อมต้องปรากฏอยู่ในหลักฐานการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ธ. สัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้รายใดย่อมถือว่าหนี้รายนั้นเป็นหนี้ประธาน สัญญาจำนองย่อมถือเป็นอุปกรณ์ของหนี้ประธาน ดังนั้น การโอนสิทธิรับจำนองหนี้รายหนึ่งรายใดไปให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ย่อมหมายถึงมีการตกลงโอนหนี้ประธานไปยังบุคคลคนนั้นแล้ว ได้ความว่า ก่อนฟ้องโจทก์โอนหนี้ของจำเลยบางส่วนไปให้แก่บริษัท ธ. และโอนสิทธิการรับจำนองลำดับที่หนึ่งไปด้วย ส่วนสิทธิจำนองคดีนี้เป็นสิทธิจำนองลำดับสอง ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์มิได้โอนสิทธิเรียกร้องตามฟ้องไปให้แก่บริษัท ธ. ดังนั้น สิทธิจำนองลำดังสองซึ่งจำนองเป็นประกันหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามฟ้องย่อมไม่อาจโอนไปยังบริษัท ธ. โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองแก่ที่ดินดังกล่าวได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 305, ม. 712
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ม. 7 (6)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2540
จำเลยที่ 1 มีความรับผิดตามสัญญาจำนองในต้นเงิน10,000,000 บาท และ 20,000,000 บาท ตามลำดับ ส่วนเรื่องดอกเบี้ยเมื่อสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินกับเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องในการกู้เงิน เบิกเงินเกินบัญชี และหนี้อื่นทุกประเภททั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาและหนี้ที่จะมีขึ้นในภายหน้า และจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นให้ผู้ร้อง ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราใดต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินบัญชีตั๋วสัญญาใช้เงิน หนังสือค้ำประกัน และสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์อันก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนอง หนี้ประธานมี 4 ประเภท อัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายที่ตกหนักแก่จำเลยที่ 1 ที่สุด และหนี้ทุกประเภทเป็นหนี้ที่มีประกันเท่ากันและเงินที่ได้จากการบังคับจำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดทุกราย จึงต้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนองจึงต้องคิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อดอกเบี้ยที่ทบเข้าจนกลายเป็นต้นเงินเป็นจำนวน30,000,000 บาท เป็นวงเงินจำนองเต็มตามสัญญาจำนองที่ดินรวมกับสัญญาจำนองเครื่องจักรที่ทำขึ้น ซึ่งในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องเต็มตามวงเงินนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจำนองได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เลิกกัน หลังจากนั้นผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้จากต้นเงินจำนอง30,000,000 บาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 328, ม. 712, ม. 715


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2540
จำเลยที่ 1 มีความรับผิดตามสัญญาจำนองในต้นเงิน10,000,000 บาท และ 20,000,000 บาท ตามลำดับ ส่วนเรื่องดอกเบี้ยเมื่อสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินกับเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องในการกู้เงิน เบิกเงินเกินบัญชี และหนี้อื่นทุกประเภททั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาและหนี้ที่จะมีขึ้นในภายหน้า และจำเลยที่ 1ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นให้ผู้ร้อง ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราใดต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน หนังสือค้ำประกัน และสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์อันก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนอง
หนี้ประธานมี 4 ประเภท อัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายที่ตกหนักแก่จำเลยที่ 1 ที่สุด และหนี้ทุกประเภทเป็นหนี้ที่มีประกันเท่ากันและเงินที่ได้จากการบังคับจำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดทุกราย จึงต้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนองจึงต้องคิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อดอกเบี้ยที่ทบเข้าจนกลายเป็นต้นเงินเป็นจำนวน30,000,000 บาท เป็นวงเงินจำนองเต็มตามสัญญาจำนองที่ดินรวมกับสัญญาจำนองเครื่องจักรที่ทำขึ้น ซึ่งในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องเต็มตามวงเงินนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจำนองได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1เลิกกัน หลังจากนั้นผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้จากต้นเงินจำนอง30,000,000 บาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 328, ม. 712, ม. 715
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที