Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 709 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 709 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 709” คืออะไร? 


“มาตรา 709” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 709 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลคนหนึ่งจะจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ก็ให้ทำได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 709” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 709 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11603/2553
จ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยเมื่อปี 2534 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ จ. โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อประกันการกู้ยืมเงินและหนี้สินอื่นๆ ของโจทก์ และหรือของ จ. ที่มีอยู่แล้วขณะที่ทำสัญญาและที่จะมีขึ้นในภายหน้าต่อจำเลย เป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้การกู้ยืมในเรื่องเงินทุน แต่ไม่ใช่เป็นประกันหนี้การกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้นของ จ. ซึ่งทำในปี 2531 เนื่องจากการกู้ยืมในเรื่องหลักทรัพย์มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนดไว้ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน เพราะไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการให้นำที่ดินจดทะเบียนจำนองประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ แต่ให้นำหลักทรัพย์จดทะเบียน พันธบัตร สลากออมสิน มาวางเป็นประกัน และผู้ให้ยืมจะได้เงินกู้ยืมในกรณีนี้คืนเมื่อขายหลักทรัพย์ได้แล้วเท่านั้น ในระหว่างยังมิได้ขายหลักทรัพย์ผู้ให้กู้ยืมจะเรียกให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่ได้ มิฉะนั้นการซื้อขายหลักทรัพย์จะปั่นป่วน คงมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ยืมชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาให้ผูกพันเลยไปถึงเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วย เมื่อหนี้เงินทุนระงับแล้วจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับตามไปด้วย และจำเลยต้องส่งมอบหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 368, ม. 709, ม. 715, ม. 744


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2542
สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันระบุไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้ยืมเงินและหนี้สินอื่นซึ่งจำเลยที่ 2 และหรือจำเลยที่ 1 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งในเวลาที่ทำสัญญาและต่อไปในภายหน้า จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ประกันด้วยทรัพย์คือ จำนอง สัญญาประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะยกเลิกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงหลักประกันอย่างไรก็ได้

โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำบันทึกข้อตกลงระงับจำนอง (ปลดจำนอง) ระบุไว้ชัดว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ที่ดินที่จำนองไว้พ้นจากการจำนองไปเพื่อนำไปยื่นขอรับใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ดังนั้น ภาระหนี้สินที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่ตามเดิมตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกัน โดยข้อตกลงแม้จะเป็นการปลดจำนอง ก็มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาจำนองเป็นประกันได้เท่านั้น แต่ภาระหนี้ในการประกันจำเลยที่ 2 และที่ 1 ยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 709, ม. 744


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ. กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลย ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐาน ดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น หนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่ อ. กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันเงินกู้ โดย อ. ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมี หลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์ นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอม จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนอง อัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2537 อ. ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้น อ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวด วันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็น ผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 150, ม. 204, ม. 224, ม. 653, ม. 681, ม. 709
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 86, ม. 87
พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ม. 3
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที