Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 707 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 707 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 707” คืออะไร? 


“มาตรา 707” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 707 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บทบัญญัติมาตรา ๖๘๑ ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 707” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 707 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2554
แม้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ทำไว้เมื่อปี 2536 และปี 2538 ระบุให้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่จะมีต่อไปในภายหน้าด้วย โดยสัญญาค้ำประกันที่ทำเมื่อปี 2536 มีจำเลยที่ 2 และที่ 9 เป็นผู้ร่วมค้ำประกันในฉบับเดียวกัน ส่วนสัญญาค้ำประกันที่ทำเมื่อปี 2538 มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 เป็นผู้ร่วมค้ำประกัน ในฉบับเดียวกัน แต่ปรากฏว่าภายหลังจากจำเลยที่ 5 ทำนิติกรรมกับโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2539 โดยทำบันทึกขึ้นเงินจำนองที่ดินรวม 4 แปลง แล้ว จำเลยที่ 5 ก็ไม่ได้ทำนิติกรรมใดๆ กับโจทก์อีก และเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ในวันเดียวกันนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ถึงที่ 10 ได้ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำสัญญาจำนอง นอกจากนี้จำเลยที่ 3 และที่ 6 ยังได้ทำหนังสือแสดงเจตนาให้การจำนองที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2535 และปี 2536 เป็นการจำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเงินกู้ 2 ฉบับนี้ด้วย ส่วนจำเลยที่ 5 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันหรือสัญญาจำนองขึ้นใหม่ ทั้งไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาให้การจำนองที่จำเลยที่ 5 ทำไว้ตั้งแต่ปี 2536 เป็นการจำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเงินกู้ 2 ฉบับนี้ด้วยแต่อย่างใด พฤติการณ์เช่นนี้เล็งเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 5 ได้ว่า สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ทำไว้ในปี 2536 และปี 2538 รวมทั้งสัญญาจำนองที่ดินที่ได้ทำไว้ก่อนไม่เป็นการค้ำประกันและจำนองเป็นประกันหนี้สำหรับสัญญาเงินกู้จำนวน 2 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในภายหลังดังกล่าวโดยการกู้เงินตามสัญญาเงินกู้นี้จำเลยที่ 5 มิได้เกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 171, ม. 680, ม. 681, ม. 702, ม. 707


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2553
ข้อสัญญาในหนังสือสัญญาจำนองที่ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าเป็นข้อสัญญาที่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 707 ประกอบมาตรา 681 วรรคสอง และใช้บังคับกันได้
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้นในคดีอื่นว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ต่อผู้ร้องจริงและขอผ่อนชำระหนี้เป็นงวด หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ผู้ร้องยึดที่ดินที่จำนองไว้และทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระให้แก่ผู้ร้องจนกว่าจะครบถ้วนและศาลพิพากษาตามยอมแล้วเป็นการที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องจริงตามคำฟ้องในคดีนั้น หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นสัญญาประธานจึงยังไม่ระงับไปตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยก็ตกลงให้ผู้ร้องยึดที่ดินที่จำเลยจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้อันเป็นการที่จำเลยยอมรับผิดตามสัญญาจำนองอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญาจำนองดังกล่าวซึ่งผู้ร้องได้รับโอนจากบริษัทเงินทุน บ. ผู้รับจำนองจึงยังคงมีอยู่และผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองนั้น ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้นั้นยังไม่ระงับสิ้นไปและมิได้มีการปลดจำนองให้แก่จำเลยผู้จำนองหรือมีการไถ่ถอนจำนอง จึงยังไม่ระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิในฐานะผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินที่จำเลยจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาใช้เงินได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 289
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 707, ม. 744
ป.วิ.พ. ม. 289


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552
ป.พ.พ. มาตรา 707 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์มอบเงินกู้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลังจากทำสัญญาจำนองหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นย่อมสมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 681, ม. 707
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที