Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 703 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 703 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 703” คืออะไร? 


“มาตรา 703” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 703 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใด ๆ
              สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย คือ
              (๑)๑ เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
              (๒) แพ
              (๓) สัตว์พาหนะ
              (๔) สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 703” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 703 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2544
คำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน น.ส.3 ก. ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ ว. ต้องถือเสมือนว่าไม่มีการขายทอดตลาด และไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนสิทธิครอบครองให้แก่ ว. ทั้ง ว. ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะมิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด จึงไม่อาจอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองและจดทะเบียนโดยสุจริตและไม่อาจอ้างว่าคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ผูกพันผู้ร้องได้ เมื่อ ว. ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดิน จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินและไม่อาจนำมาจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705 ทั้งการจดทะเบียนจำนองเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 702 แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตา 296 วรรคสอง (เดิม)เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะปฏิเสธไม่ส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 ก ตามคำสั่งศาลชั้นต้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 703, ม. 705, ม. 1330
ป.วิ.พ. ม. 296


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2533
ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นคนละแปลงกับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 408 ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 408 ที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองและนำยึดไว้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 408 จึงเป็นการมิชอบ ที่ดินพิพาทมีโฉนดของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3เลขที่ 408 ซึ่งโจทก์เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบในขณะที่มี น.ส.3เป็นหลักฐานโดยมีชื่อผู้จำนองเป็นเจ้าของ การจำนองยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองเอากับที่ดินทั้งสองแปลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 744 และ 702 วรรคสอง การที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในภายหลังแม้จะได้มาโดยสุจริตก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่เดิมเสียไป.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 702, ม. 703, ม. 705, ม. 716, ม. 717, ม. 744
ป.วิ.พ. ม. 142, ม. 246


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2520
โจทก์ได้ฟ้องผู้จำนองจนมีการบังคับคดียึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญาจำนองแล้ว การที่ผู้ร้องขัดทรัพย์รับซื้อทรัพย์ที่จำนองจากผู้จำนองและศาลพิพากษาให้ผู้จำนองโอนขายให้แก่ผู้ร้องตามสัญญาแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้องตามคำพิพากษานั้นผู้ร้องขัดทรัพย์มีฐานะเท่ากับบุคคลภายนอกที่จะได้รับโอนทรัพย์จำนองซึ่งอยู่ในระหว่างถูกยึดขายทอดตลาด ย่อมต้องถูกบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 288
ป.พ.พ. ม. 702, ม. 703
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที