Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 701 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 701 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 701” คืออะไร? 


“มาตรา 701” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 701 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ค้ำประกันจะขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อถึงกำหนดชำระก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 701” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 701 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2555
จำเลยที่ 4 รับว่าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 บริษัท ย. และ บริษัท อ. ไว้แก่โจทก์รวม 5 ฉบับ และจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันนั้นเป็นเงินรวม 3,000,000 บาท โดยจำเลยที่ 4 จำนองที่ดินไว้ต่อโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 4 เอง รวมถึงที่จำเลยที่ 4 ได้ค้ำประกันหนี้สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับบริษัทในเครือดังกล่าวที่มีอยู่ต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองในวงเงิน 3,000,000 บาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ และจำเลยที่ 4 ได้ขอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันรวม 5 ฉบับ เป็นเงิน 3,000,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความรับผิดของจำเลยที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันทั้งหมด และโจทก์มิได้นำสืบให้ชัดว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 4 ชำระยังไม่เพียงพอต่อความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะยังมีดอกเบี้ยหรือค่าอุปกรณ์อื่น ๆ อีก จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 4 ชำระหนี้ครบถ้วนตามความรับผิดในสัญญาค้ำประกันแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 701 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2550
บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการวางทรัพย์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อที่ลูกหนี้จะได้หลุดพ้นจากความรับผิดเป็นคนละเรื่องกับการที่ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 โดยไม่ต้องมีการวางทรัพย์
การที่จำเลยที่ 3 นำแคชเชียรเช็คพร้อมเงินสดตามจำนวนที่ได้รับแจ้งจากพนักงานของธนาคารโจทก์ไปชำระ ณ สาขาของโจทก์ที่รับผิดชอบเรื่องหนี้สินรายพิพาท จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถึงกำหนดโดยชอบ เมื่อพนักงานของโจทก์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 701


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2549
แม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงการต่ออายุสัญญาจ้างโดยไม่ชักช้าตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันข้อ 2 ตอนท้ายก็ตาม ข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคสอง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ต่ออายุสัญญาออกไป โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่ 25 เมษายน 2533 ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์คืนหนังสือค้ำประกันของจำเลยให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ไปเพราะความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โจทก์ แต่โจทก์มิได้เจตนาประสงค์จะให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. และจำเลยพ้นจากความรับผิด ถึงจำเลยจะได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนึ่ง ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ยังคงต้องรับผิดในค่าเสียหายและค่าปรับแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 จำเลยจะอ้างธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปว่า เมื่อจำเลยได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือค้ำประกันจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้เป็นลูกค้าโดยสุจริต และจำเลยคืนหลักประกันไปจำเลยก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่ ทั้งนี้ เพราะกรณีไม่ต้องบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันอันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วใน ป.พ.พ. มาตรา 698 ถึงมาตรา 701
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/30, ม. 327 วรรคสาม, ม. 698, ม. 700, ม. 701
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที