Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 699 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 699 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 699” คืออะไร? 


“มาตรา 699” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 699 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้
              ในกรณีเช่นนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในกิจการที่ลูกหนี้กระทำลงภายหลังคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงเจ้าหนี้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 699” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 699 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545
สัญญาค้ำประกันตามสัญญากู้เงินฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้คือธนาคารโจทก์ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตามมาตรา 699 ได้เมื่อจำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์หลังจากวันที่จำเลยที่ 6 และที่ 8 บอกเลิกการค้ำประกันไปแล้วหาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 699


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545
ตามสัญญากู้ฉบับแรก โจทก์มิได้มอบเงินที่กู้ให้แก่จำเลยที่ 1 รับไปในคราวเดียว แต่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นคราว ๆ ตามความจำเป็น และคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นคราวตามวันที่จ่ายจริง มิใช่นับแต่วันทำสัญญากู้เงินทั้งหมด และแม้ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 มาขอกู้เงินจากโจทก์เพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 2 โจทก์ก็จ่ายเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นแม้ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8 ทำไว้ต่อโจทก์จะมีข้อความในข้อ 1 วรรคสาม ระบุว่า "เนื่องจากการค้ำประกันตามวรรคแรกเป็นประกันหนี้ดังกล่าวข้างต้นในจำนวนหนี้ที่มีอยู่ก่อน หรือในขณะทำสัญญานี้และ/หรือที่จะมีขึ้นใหม่ภายหน้า ผู้ค้ำประกันและธนาคารจึงตกลงกันว่าในกรณีที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ถ้าตราบใดธนาคารยังมิได้มีหนังสือแจ้งว่าผู้ค้ำประกันหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันและธนาคารตกลงให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันรายนี้ยังคงมีผลบังคับอยู่ เมื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ใหม่ของลูกหนี้กับธนาคารต่อไปอีกด้วย" อันแสดงให้เห็นได้ว่า สัญญาค้ำประกันฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 อันมีผลใช้บังคับต่อผู้ค้ำประกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง ก็ตาม แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือ จำเลยที่ 5 และที่ 6 และที่ 8 อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว ก่อนที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ฉบับที่ 2 กับโจทก์ สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป ส่วนจำเลยที่ 5 นั้น แม้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ฉบับที่ 2 แต่จำเลยที่ 5 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันเงินกู้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 กับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์ในหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับแรกอยู่ จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ฉบับแรกพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้องต่อโจทก์
การที่พยานหลักฐานโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระต้นเงินทั้งสองคราวนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินต่อโจทก์แล้ว จึงได้นำเงินมาหักจากต้นเงินได้ และแม้ว่าการผ่อนชำระดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใด ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับแรก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 328 วรรคสอง, ม. 680, ม. 681, ม. 699


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 698, ม. 699, ม. 856, ม. 859
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที