Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 684 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 684 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 684” คืออะไร? 


“มาตรา 684” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 684 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่ถ้าโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้นั้นก่อนไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเช่นนั้นไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 684” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 684 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตรา ดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปีเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปีดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 7, ม. 683, ม. 684, ม. 856
ป.วิ.พ. ม. 161, ม. ตาราง 6


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปี เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปี ดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 7, ม. 683, ม. 684, ม. 856
ป.วิ.พ. ม. 161, ตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.อัตราค่าท


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองจำเลยไม่ผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 156, ม. 160, ม. 215, ม. 368, ม. 379, ม. 684
ป.วิ.พ. ม. 161, ม. 162
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที