Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 683 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 683 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 683” คืออะไร? 


“มาตรา 683” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 683 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดนั้นย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นด้วย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 683” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 683 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2561
จำเลยที่ 3 ลงชื่อในช่องผู้ค้ำประกันไว้ท้ายสัญญาและเขียนกำกับไว้ในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนว่าใช้สำหรับประกันถมดินเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ยอมผูกพันตนต่อโจทก์เจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ โดยไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่ค้ำประกันไว้ อันเป็นการค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัด จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดรวมถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้นั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคหนึ่ง และมาตรา 683 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายซึ่งโจทก์ต้องเสียไปจากการว่าจ้างผู้อื่นถมดินในราคาที่สูงขึ้น รวมเป็นเงิน 1,379,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามมาตรา 391 วรรคสอง และวรรคท้าย แต่ตามสัญญาว่าจ้างเหมางานถมดินและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยที่ 3 ยอมผูกพันตนโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงมีเฉพาะกรณีหากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ต้องชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 391, ม. 680 วรรคหนึ่ง, ม. 683
ป.วิ.พ. ม. 142 (5)
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ม. 7


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2547
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหรือชำระไม่ครบและโจทก์บังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้วไม่พอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 จนครบถ้วนได้ จึงหาจำต้องระบุว่าหากบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 อีกด้วยไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 683, ม. 691, ม. 733
ป.วิ.พ. ม. 141


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2545
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ท. จำกัด ต่อกรมสรรพากรเป็นเงินไม่เกิน 2,097,425 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม?" ตามข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากรส่วนหนึ่งไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท กับเงินเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง หาใช่ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีรวมกับเงินเพิ่มไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.รัษฎากร ม. 89/1
ป.พ.พ. ม. 680, ม. 683
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที