Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 681 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 681 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 681” คืออะไร? 


“มาตรา 681” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 681 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์
              หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้ แต่ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของมูลหนี้ จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน เว้นแต่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวตามมาตรา ๖๙๙ จะไม่ระบุระยะเวลาดังกล่าวก็ได้
              สัญญาค้ำประกันต้องระบุหนี้หรือสัญญาที่ค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น

 


              หนี้อันเกิดแต่สัญญาซึ่งไม่ผูกพันลูกหนี้เพราะทำด้วยความสำคัญผิดหรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้นก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่เข้าทำสัญญาผูกพันตน
 มาตรา ๖๘๑/๑๒  ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
              ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่กรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นนิติบุคคลและยินยอมเข้าผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ในกรณีเช่นนั้นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘๘ มาตรา ๖๘๙ และมาตรา ๖๙๐๓ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 681” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 681 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2558
การออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นราชการประจำตามปกติที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่เฉพาะแต่โจทก์ยังมีธนาคารอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเช่นกัน ดังนั้น ปลัดกระทรวงการคลังย่อมใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์โดยตั้งเป็นสาขาในประเทศไทยได้ โดยไม่จำต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 6 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2514 ข้อ 1 การที่ปลัดกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 7 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักร หรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาของธนาคารต่างประเทศจะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย..." เห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช้บังคับแก่สาขาของธนาคารต่างประเทศ ดังนั้น ห. ผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งกระทำการแทนโจทก์มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

ข้อตกลงตามสัญญาจำนองที่ว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ผู้จำนองจะชำระส่วนที่ขาดจนครบ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะผิดไปจากบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ก็ตาม แต่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงตามบันทึกต่อสัญญาจำนองที่กำหนดว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จำนองต้องรับผิดในส่วนที่ขาดหากบังคับจำนองแล้วไม่พอชำระหนี้ก็เป็นไปตามปกติประเพณีของสัญญาจำนอง ซึ่งจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างทราบดีอยู่แล้ว จะถือว่าโจทก์ได้เปรียบในการต่อรองในการปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยทั้งสามต้องรับภาระหนักกว่าโจทก์มากตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 10 (1) (3) และ (4) หาได้ไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
หนังสือสัญญาค้ำประกันแม้จะไม่ได้ระบุจำนวนเงินไว้ แต่การค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และ 681 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหนี้ที่ค้ำประกันจะต้องมีจำนวนแน่นอน โดยหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งเกิดขึ้นได้จริงก็ค้ำประกันได้ หนังสือสัญญาค้ำประกันจึงมีผลบังคับได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์พร้อมกับคำพิพากษา จำเลยทั้งสามชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งจนพ้นกำหนดอุทธรณ์แล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติไป จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาได้อีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 150, ม. 680, ม. 681, ม. 733
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ม. 7 ทวิ
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ม. 4, ม. 10


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2555
ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ ผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อ พ. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้อันสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ พ. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่ พ. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 680, ม. 681, ม. 1599, ม. 1600


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2554
แม้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ทำไว้เมื่อปี 2536 และปี 2538 ระบุให้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่จะมีต่อไปในภายหน้าด้วย โดยสัญญาค้ำประกันที่ทำเมื่อปี 2536 มีจำเลยที่ 2 และที่ 9 เป็นผู้ร่วมค้ำประกันในฉบับเดียวกัน ส่วนสัญญาค้ำประกันที่ทำเมื่อปี 2538 มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 เป็นผู้ร่วมค้ำประกัน ในฉบับเดียวกัน แต่ปรากฏว่าภายหลังจากจำเลยที่ 5 ทำนิติกรรมกับโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2539 โดยทำบันทึกขึ้นเงินจำนองที่ดินรวม 4 แปลง แล้ว จำเลยที่ 5 ก็ไม่ได้ทำนิติกรรมใดๆ กับโจทก์อีก และเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ในวันเดียวกันนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ถึงที่ 10 ได้ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำสัญญาจำนอง นอกจากนี้จำเลยที่ 3 และที่ 6 ยังได้ทำหนังสือแสดงเจตนาให้การจำนองที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2535 และปี 2536 เป็นการจำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเงินกู้ 2 ฉบับนี้ด้วย ส่วนจำเลยที่ 5 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันหรือสัญญาจำนองขึ้นใหม่ ทั้งไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาให้การจำนองที่จำเลยที่ 5 ทำไว้ตั้งแต่ปี 2536 เป็นการจำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเงินกู้ 2 ฉบับนี้ด้วยแต่อย่างใด พฤติการณ์เช่นนี้เล็งเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 5 ได้ว่า สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ทำไว้ในปี 2536 และปี 2538 รวมทั้งสัญญาจำนองที่ดินที่ได้ทำไว้ก่อนไม่เป็นการค้ำประกันและจำนองเป็นประกันหนี้สำหรับสัญญาเงินกู้จำนวน 2 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในภายหลังดังกล่าวโดยการกู้เงินตามสัญญาเงินกู้นี้จำเลยที่ 5 มิได้เกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 171, ม. 680, ม. 681, ม. 702, ม. 707
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที