“มาตรา 678 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 678” คืออะไร?
“มาตรา 678” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 678 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในข้อความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อทรัพย์สินของคนเดินทางหรือของแขกอาศัยสูญหายหรือบุบสลายนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้น “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 678” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 678 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2550
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยอาศัยมูลหนี้ที่ ต. ได้นำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จาก บ. เจ้าของรถยนต์ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้วเข้าพักในโรงแรม ต่อมารถยนต์หายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดในความสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้นตามมาตรา 678 แม้โจทก์จะอ้างว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาและมีคำขอให้คืนรถยนต์แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่มีอายุความ 1 ปี เมื่อเหตุรถยนต์สูญหายเกิดขึ้นวันที่ 2 สิงหาคม 2540 โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 880 มาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2541 เกินกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ ต. ออกจากโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 674, ม. 678, ม. 880
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2550
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยอาศัยมูลหนี้ที่ ต. ได้นำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้วเข้าพักในโรงแรม ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวหายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ที่ผู้พักอาศัยพามาจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามาตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 ซึ่งการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 678 แม้โจทก์จะอ้างคำฟ้องว่าลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาและมีคำขอให้คืนรถยนต์แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่มีอายุความ 1 ปี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 674, ม. 678
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2537
ตามสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยมีมูลหนี้สืบเนื่องมากจาก ช. ผู้เอาประกันภัยได้นำรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยซึ่งจำเลยในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆอันเกิดแต่ทรัพย์สิน ซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามาซึ่งเกี่ยวกับอายุความเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 678 มีอายุความ 6 เดือนนับแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้น เมื่อเหตุรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเกิดขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม 2527หลังเกิดเหตุ ช. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนแล้วเดินทางกลับกรุงเทพมหานครในวันเดียวกัน โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 880 มาและยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2527เกินกำหนดเวลาหกเดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 678, ม. 880