Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 677 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 677 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 677” คืออะไร? 


“มาตรา 677” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 677 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ถ้ามีคำแจ้งความปิดไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านี้ เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของเจ้าสำนักไซร้ ท่านว่าความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังว่านั้น“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 677” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 677 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2544
ลานจอดรถเป็นของจำเลยจัดให้ผู้มาพักโรงแรมของจำเลยได้จอดรถ น. ซึ่งเป็นคนเดินทางจึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะนำรถยนต์เข้าไปจอดภายในบริเวณลานจอดรถดังกล่าวซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ส่วนที่จำเลยปิดประกาศไม่รับผิดชอบหากเกิดการสูญหายของทรัพย์สิน ก็ไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดตามประกาศดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 และในการจอดรถน. ได้ปิดล็อกประตูรถทุกบานแล้วเพราะเป็นระบบเซ็นทรัลล็อก ย่อมถือได้ว่า น. มิได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 675 วรรคสาม
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่ว ๆ ไป เท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม ยังถือไม่ได้ว่ามีลักษณะเป็นของมีค่าตามมาตรา 675 วรรคสอง น. ไม่จำต้องแจ้งฝากรถยนต์ไว้ต่อจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 675, ม. 677


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2544
จำเลยจัดให้ผู้มาพักโรงแรมของจำเลยได้จอดรถในลานจอดรถ น. ซึ่งขับรถมาส่งแขกเข้าพักโรงแรมของจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะนำรถยนต์เข้าไปจอดภายในบริเวณลานจอดรถดังกล่าวซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ส่วนการที่จำเลยปิดประกาศไม่รับผิดชอบหากเกิดการสูญหายของทรัพย์สินก็ไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดตามประกาศดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677
น. ได้ปิดล็อกประตูรถยนต์ทุกบานแล้วเพราะเป็นระบบเซ็นทรัลล็อก ซึ่งย่อมถือได้ว่า น. มิได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสาม
ความรับผิดของเจ้าสำนักในทรัพย์สินของคนเดินทางที่สูญหายจำกัดไว้เพียงห้าร้อยบาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณีหรือของมีค่าอื่น ๆ รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่ว ๆ ไป แม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่ามีลักษณะเป็นของมีค่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 674, ม. 675, ม. 677


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2540
น.นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยและรถยนต์คันดังกล่าวได้หายไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อ น. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 674 แม้ น. จะมิได้แจ้งให้พนักงานของจำเลยทราบว่าได้นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยก็ตาม แต่เมื่อ น.ทราบแน่ชัดว่ารถยนต์ของตนหายไปก็ได้แจ้งแก่ ว.ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมจำเลยทราบในทันที ทั้ง น.ก็ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กรณีถือได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมทราบทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 676 แล้ว ส่วนข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยตามเอกสารซึ่งเป็นเพียงใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลยและในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตร ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย"อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลยนั้น เอกสารดังกล่าวจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวด้วย ข้อความในเอกสารเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 674, ม. 676, ม. 677
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที