Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-31

มาตรา 675 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 675 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 675” คืออะไร? 


“มาตรา 675” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 675 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เจ้าสำนักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้น ก็คงต้องรับผิด
              ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จำกัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง๑
              แต่เจ้าสำนักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทาง หรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 675” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 675 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2559
คำว่า "คนเดินทางหรือแขกอาศัย" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 หมายถึง บุคคลอื่นใดที่ใช้บริการเข้าพักในโรงแรม หรือ โฮเต็ล หรือ สถานที่อื่นทำนองเช่นนั้น ดังนี้ การที่ ก. เข้าพักอาศัยที่โรงแรมของจำเลย จึงถือได้ว่า ก. เป็นแขกอาศัยตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ส่วนจำเลยซึ่งเป็นเจ้าสำนักโรงแรมประกอบกิจการเพื่อให้บริการแขกอาศัยโดยมีค่าตอบแทน ได้ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าตอบแทนจาก ก. ก็หาทำให้ ก. มิใช่แขกอาศัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 674, ม. 675, ม. 887


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2558
การที่โจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแต่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา จึงมีหน้าที่ต้องตรวจตราดูแลทรัพย์สินของลูกค้า แต่จำเลยที่ 1 และพนักงานไม่ตรวจตราดูแลให้ดี ทำให้มีคนเข้ามาลักเอารถยนต์ไป จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้เข้าพักในโรงแรม ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 โต้เถียงบรรยายโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว

การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ม. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทระบุเวลาที่รถหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2549 และวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ไม่ตรงกันนั้น น่าจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของผู้บันทึก ไม่ใช่ ม. แจ้งแตกต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเฉพาะทรัพย์สินที่สูญหายภายในห้องพัก แต่ลานจอดรถอยู่ด้านนอกโรงแรม และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับฝากรถยนต์ จึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ที่จอดไว้นั้น เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 674 และมาตรา 675 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา แม้ความสูญหายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม ก็ต้องรับผิด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 674, ม. 675 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8010/2548
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนรถยนต์คันเกิดเหตุที่หายไปให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์คันเกิดเหตุแก่โจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 226, ม. 674, ม. 675 วรรคหนึ่ง, ม. 880 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที