“มาตรา 664 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 664” คืออะไร?
“มาตรา 664” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 664 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไรไซร้ ผู้รับฝากอาจคืนทรัพย์สินนั้นได้ทุกเมื่อ “
2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 664” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 664 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2524
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเป็นเงิน 5 บาท จากเงินฝาก200 บาทที่โจทก์ฝากไว้กับจำเลยตามสัญญา แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า ก่อนจำเลยที่ 1 ปิดบัญชีเงินฝากของโจทก์ โจทก์มีเงินที่ฝากไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเท่าใด ระยะเวลาดังกล่าวจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 664 เมื่อสัญญาฝากเงินประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถามนั้น เป็นการฝากทรัพย์โดยไม่มีกำหนดเวลา ผู้รับฝากจึงอาจคืนทรัพย์นั้นได้ทุกเมื่อโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง
ป.พ.พ. ม. 664
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2490
เจ้าของกระบือมอบกระบือให้เขาเลี้ยง แล้วยอมให้ผู้เลี้ยงเอาไปใช้รับจ้างผู้อื่นได้ เจ้าของเอากระบือคืนในระหว่างที่ผู้เลี้ยงรับจ้างเขาอยู่ผู้เลี้ยงก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของกระบือไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 659, ม. 664, ม. 668