Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 66 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 66” คืออะไร? 


“มาตรา 66” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 66 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง  “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 66” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 66 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2559
บริษัทมหาชนจำกัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น และมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ยืมไป เมื่อมีผู้เบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม ป.วิ.อ.
การพิจารณาความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ย่อมกระทำโดยการพิจารณาและสืบพยานในศาล ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน
ความรับผิดทางอาญาคือโทษ ผู้กระทำความผิดย่อมได้รับเองเป็นรายบุคคลเฉพาะตัว แม้ตัวการถึงแก่ความตาย ผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ตัวการยังต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 2 (4), ม. 39 (1)
ป.พ.พ. ม. 65, ม. 66, ม. 1015
พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ม. 15, ม. 24
พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ม. 4, ม. 14, ม. 315


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2559
สำหรับคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. นั้น ศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) วินิจฉัยว่า ธ. ทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท พ. มิได้ทำสัญญากับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์กับ ธ. จึงฟังไม่ได้ว่า ธ. เป็นลูกจ้างโจทก์ และโจทก์ไม่อาจนำข้อห้ามต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างมากล่าวอ้างว่า ธ. ปฏิบัติผิดสัญญาจนโจทก์ได้รับความเสียหายได้ พิพากษายกฟ้อง คดีดังกล่าวถึงที่สุดและผูกพันคู่ความทั้งในส่วนของผลคดีและข้อเท็จจริงที่ศาลวินิจฉัย ส่วนคดีนี้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคนละบุคคลกับ ธ. แต่ตามคำฟ้องคดีนี้กล่าวอ้างว่า ธ. เป็นลูกจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ ธ. ทำกับบริษัท พ. และ ธ. ปฏิบัติผิดข้อตกลงในสัญญา นำความลับทางการค้าของโจทก์ไปใช้ในกิจการของบริษัทที่ ธ. กับภริยาตนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ สัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกับที่โจทก์นำมากล่าวอ้างในคดีก่อน ประเด็นในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์และ ธ. ทั้งสองคดีจึงเป็นประเด็นเดียวกัน ข้อเท็จจริงที่ศาลวินิจฉัยในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ว่า ธ. ไม่ใช่ลูกจ้างโจทก์ และโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ไม่อาจนำข้อห้ามต่าง ๆ ในสัญญาจ้างแรงงานมากล่าวอ้างว่า ธ. ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานได้ ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานผูกพันคู่ความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วย มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ธ. ทำสัญญาขายหุ้นของบริษัทโจทก์ให้แก่บริษัท อ. ก่อนที่ ธ. จะทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท พ. แม้บริษัท อ. จะควบรวมกิจการกับบริษัท จ. กลายเป็นบริษัท พ. และถือว่าบริษัท พ. สวมสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นที่ซื้อจาก ธ. แทนบริษัท อ. ก็ตาม แต่บริษัท พ. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญาที่มีสิทธิยกเอาข้อตกลงตามสัญญาขายหุ้นดังกล่าวที่ห้าม ธ. ประกอบธุรกิจหรือให้ข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เป็นการแข่งขันทางธุรกิจกับโจทก์มากล่าวอ้างฟ้องร้องคดีนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 66, ม. 67
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13476 - 13482/2558
ป.พ.พ. มาตรา 65 บัญญัติว่า "นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น" มาตรา 66 บัญญัติว่า "นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง" เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลอันเป็นบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย การยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐจึงต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นกิจการที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ด้วย เมื่อหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทของโจทก์ โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนให้มีวัตถุประสงค์ในการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งแปดและบริวารออกจากที่ดินพิพาทตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นต่อสู้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 66, ม. 1304 (1)
ป.วิ.พ. ม. 142 (5)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที