Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 626 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 626 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 626” คืออะไร? 


“มาตรา 626” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 626 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ตราบใดของยังอยู่ในมือผู้ขนส่ง ตราบนั้นผู้ส่ง หรือถ้าได้ทำใบตราส่ง ผู้ทรงใบตราส่งนั้น อาจจะให้ผู้ขนส่งงดการส่งของนั้นไป หรือให้ส่งกลับคืน หรือให้จัดการแก่ของนั้นเป็นอย่างอื่นประการใดก็ได้
              ในเหตุเช่นนี้ ผู้ขนส่งชอบที่จะได้รับเงินค่าระวางพาหนะตามส่วนแห่งระยะทางที่ได้จัดการขนส่งไปแล้ว กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องเสียไปเพราะเหตุที่บอกงดหรือเพราะส่งของกลับคืน หรือเพราะจัดการเป็นประการอื่นนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 626” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 626 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6512/2546
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยทางเรือเดินทะเล โดยจำเลยจะรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากโจทก์ไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของจำเลย แล้วนำกลับมาส่งมอบแก่โจทก์ที่ลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์เพื่อให้โจทก์ดำเนินการขนส่งทางเรือไปยังต่างประเทศ และโจทก์ได้นำตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรจุสินค้าของจำเลยไปฝากไว้ยังท่าเรือแหลมฉบังเพื่อเตรียมการขนส่งทางเรือ เมื่อจำเลยได้ขอยกเลิกการส่งสินค้าโดยขอรับตู้คอนเทนเนอร์กลับไปขนสินค้าออกแล้วนำตู้คอนเทนเนอร์เปล่าส่งคืนโจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิตาม พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 36 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ผู้ขนส่งได้เสียไปเพื่อจัดการในการขนส่งให้แก่โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกัน และเมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี มาใช้บังคับ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34 (3) ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ไม่อาจนำมาใช้บังคับกับการรับขนของทางทะเลในกรณีนี้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/30, ม. 193/34 (3), ม. 626
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ม. 36


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2538
จำเลยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัท ก. ในประเทศ สหรัฐอเมริกาแล้วว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลแบบ ซีวาย/ซีวาย โดยบริษัท ก.เป็นฝ่ายนำตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามามอบให้โจทก์บรรทุกลงเรือเมื่อมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯซึ่งเป็นท่าปลายทางจำเลยมีหน้าที่ไปขนถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ภายใน7วันแล้วส่งตู้คอนเทนเนอร์คืนโจทก์จำเลยจะชำระราคาสินค้าให้บริษัท ก.โดยผ่านทางธนาคารแล้วจำเลยจะรับใบตราส่งจากธนาคารไปแลกใบสั่งปล่อยสินค้าจากโจทก์เพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อมาโจทก์ขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงท่าเรือปลายทางและพร้อมที่จะส่งมอบสินค้าโดยยกตู้คอนเทนเนอร์ออกจากเรือทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าระวางและค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ไปรับสินค้าตามข้อตกลงการที่จำเลยจะเรียกให้โจทก์ส่งมอบสินค้าหรือไม่หามีผลต่อความรับผิดที่จำเลยมีตามข้อตกลงไม่ปัญหาว่าเมื่อผู้รับตราส่งยังไม่ได้เรียกให้ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าโดยวิธีนำใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าจะทำให้ผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับโอนสิทธิหน้าที่อันเกิดจากสัญญารับขนหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 626, ม. 627
ป.วิ.พ. ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2473
ผู้ขนส่ง ๆ ของให้ถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งไม่ได้เพราะมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น ผู้ขนส่งชอบที่จะได้รับเงินค่าระวางพาหนะตามส่วนของระยะทาง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 626
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที