Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 622 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 622 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 622” คืออะไร? 


“มาตรา 622” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 622 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ของถึงเมื่อใด ผู้ขนส่งต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับตราส่ง “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 622” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 622 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2539
สายการเดินเรือช. รับจ้างขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทยแต่ไม่มีสาขาในประเทศไทยจึงให้จำเลยที่1ดำเนินการแทนระหว่างเดินทางเรือบรรทุกสินค้าของสายการเดินเรือช.เกิดเพลิงไหม้ทำให้สินค้าเสียหายบางส่วนต้องขนสินค้าที่เสียหายขึ้นที่เมืองฮ่องกง จำเลยที่1มีหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าบนเรือขอให้ใช้กฎแห่งการเฉลี่ยทั่วไปในรูปแบบของหลักประกันเฉลี่ยของบริษัทลอยด์ จำกัดจากผู้รับตราส่งสินค้าเรียกหนังสือค้ำประกันเพื่อกฎแห่งการเฉลี่ยอย่างไม่จำกัดจำนวนจากผู้รับประกันภัยสินค้าและขอให้ลงชื่อในแบบฟอร์มหลักประกันเฉลี่ยและหนังสือค้ำประกันเมื่อเรือสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้แจ้งเรือเข้าต่อกรมเจ้าท่าและต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยแจ้งให้กรมศุลกากรทราบว่าสินค้าที่บรรทุกมาบนเรือมีอะไรบ้างประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้รับค่าระวางขนส่งจากผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าบนเรือทั้งหมดไปเก็บไว้ในคลังสินค้าและเมื่อเรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถแล่นผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาจำเลยที่1ต้องหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้าการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่1เป็นวิธีการรับขนทางทะเลมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จำเลยที่1ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นขั้นตอนสำคัญของการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา615และมาตรา622จำเลยที่1จึงเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักให้มากไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้จำเลยที่1ได้ให้จำเลยที่2เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานครจำเลยที่2ได้ว่าจ้างจำเลยที่4และที่5ขนถ่ายสินค้าโดยมีจำเลยที่3เป็นคนขับเรือเล็กจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าจึงถือได้ว่าจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่1เพื่อให้สินค้าถึงผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้ายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่3มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่4และที่5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทจำเลยที่3จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 615, ม. 618, ม. 622


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ.และบริษัทว. ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ.และบริษัท ว. ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ.และบริษัทว. และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 609, ม. 615, ม. 618, ม. 622, ม. 624
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที