Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 615 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 615 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 615” คืออะไร? 


“มาตรา 615” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 615 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 615” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 615 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7726/2561
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขนส่งและขนถ่ายปุ๋ยบรรจุกระสอบ โดยนำสินค้าบรรทุกเรือลำเลียงขนส่งต่อไปยังคลังสินค้าปลายทางที่จำเลยทั้งสองกำหนด แต่จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์ไม่นำส่งใบตราส่งหรือตั๋วเรือ และใบรับรองน้ำหนักสินค้าเข้าคลังจากคลังสินค้าตามสัญญาให้ฝ่ายจำเลย โจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสอง เมื่อนำมาหักกลบลบหนี้แล้ว โจทก์กลับต้องเป็นฝ่ายชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 กลับมิได้ฟ้องแย้งเพื่อคำขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินส่วนนี้ เป็นแต่ต่อสู้หรือเถียงว่าโจทก์ปฏิบัติตามสัญญาไม่ครบถ้วนขอให้ยกฟ้องเท่านั้น แม้จะไม่มีฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แต่ศาลยังคงต้องมีประเด็นปัญหาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ส่งมอบปุ๋ยขาดจำนวนหรือไม่ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 นำสืบได้ว่า กรณีมีปุ๋ยสูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของโจทก์แล้ว โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งย่อมจำต้องรับผิดในการสูญหายนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และแม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ปฏิบัติตามสัญญาไม่ครบถ้วนขอให้ยกฟ้อง โดยมิได้ฟ้องแย้งไว้ก็ตาม แต่ศาลยังจำต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ส่งมอบปุ๋ยขาดจำนวนหรือไม่ด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ขนสินค้าปุ๋ยส่งมอบยังคลังสินค้าทั้งสองแห่งครบถ้วนตามสัญญาแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าระวางเรือลำเลียงส่วนที่เหลือและค่าสตีวีโดในการขนถ่ายสินค้าจากเรือลำเลียง ส่วนที่ค้างกับค่าขนย้ายสินค้าจากโกดังแก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 616


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10288/2559
การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิดในกรณีสินค้าที่จำเลยรับขนส่งสูญหายในขณะที่จำเลยขับรถประสบอุบัติเหตุตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 616 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่ามีสินค้าที่จำเลยรับขนสูญหายจริง ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน สองแสนบาท และไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเข้าร่วมรับจ้างขนสินค้ากับโจทก์และต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่จำเลยรับขนเนื่องจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ ความรับผิดในฐานะผู้ขนสินค้า มิใช่ขอให้รับผิดในฐานะเป็นผู้กระทำละเมิด แม้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิด ก็เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ที่ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในข้อนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยโดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 แล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 616
ป.วิ.พ. ม. 142 วรรคหนึ่ง, ม. 246, ม. 225 วรรคหนึ่ง, ม. 248 วรรคหนึ่ง (เดิม)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2559
คำร้องให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ไม่ใช่คำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) เพราะเป็นแต่คำร้องให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยด้วยเท่านั้น ยังไม่มีผู้ใดเสนอข้อหาต่อศาลโดยการสอดเข้ามาในคดี คำร้องดังกล่าวจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม และเมื่อศาลหมายเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้ว หากศาลเห็นว่าจำเลยร่วมจะต้องรับผิดก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือที่ปรากฏในคำฟ้อง
พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 เป็นจำเลยในคดีส่วนอาญาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์รับอันตรายแก่กายและทรัพย์สินเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยร่วมที่ 1 ผู้เดียวเป็นฝ่ายประมาท ในคดีส่วนแพ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมที่ 1 ผู้เดียวทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 เป็นคดีส่วนอาญา อายุความที่โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 เป็นคดีส่วนแพ่งย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.อ. มาตรา 95 ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง โจทก์ขอหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในระหว่างคดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์รับจ้างขนส่งข้าวสารของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยมีข้อตกลงว่าหากข้าวสารเกิดความเสียหายโจทก์จะต้องรับผิดชอบ แม้ขณะเกิดเหตุละเมิดข้าวสารจะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนข้าวสารที่เสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนของข้าวสารที่เสียหายจากจำเลยร่วมทั้งสองผู้ทำละเมิด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 226, ม. 227, ม. 420, ม. 425, ม. 448, ม. 616
ป.อ. ม. 95
ป.วิ.พ. ม. 1 (3), ม. 57 (3), ม. 142
ป.วิ.อ. ม. 46, ม. 51 วรรคสอง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที