Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 614 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 614 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 614” คืออะไร? 


“มาตรา 614” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 614 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ แม้ว่าใบตราส่งจะได้ออกให้แก่บุคคลผู้ใดโดยนามก็ตาม ท่านว่าย่อมสลักหลังโอนให้กันได้ เว้นแต่จะมีข้อห้ามการสลักหลังไว้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 614” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 614 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2544
ใบตราส่งแสดงชื่อผู้รับตราส่งว่า ให้เป็นไปตามคำสั่งของธนาคาร ด. ธนาคาร ด. ได้สลักหลังใบตราส่งให้แก่ธนาคาร ซ. ซึ่งสลักหลังสิทธิตามใบตราส่งให้โจทก์ ซึ่งด้านหลังของใบตราส่งปรากฏว่ามีรายการสลักหลังโดยระบุชื่อธนาคารทั้งสองและลายมือชื่อของผู้มีอำนาจของธนาคารทั้งสอง อีกทั้งมีการระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับสลักหลังด้วย และเมื่อโจทก์เป็นผู้รับสลักหลังคนสุดท้ายจึงต้องถือว่าเป็นผู้รับตราส่ง แม้มิได้มีการแสดงชื่อในใบตราส่งว่าเป็นผู้รับตราส่งก็ตาม และเนื่องจากสิทธิที่ระบุไว้ในใบตราส่งตกแก่ผู้รับตราส่งมิใช่ตกแก่ผู้ส่ง ผู้ส่งไม่สามารถสลักหลังโอนสิทธิที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้อื่น ดังนั้น การที่ไม่มีรายชื่อของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท พ. ผู้ส่งสินค้าจึงไม่ทำให้การสลักหลังขาดสาย
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 เป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดในกรณีที่ของที่ผู้ขนส่งได้รับมอบหมายเกิดสูญหายหรือเสียหาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งความรับผิดดังกล่าวหมายถึงกรณีเกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ของที่ผู้ขนส่งรับมอบหมาย ส่วนกรณีที่จำเลยในฐานะผู้ขนส่งไม่ยอมส่งมอบของให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง แต่ได้ส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อซึ่งมิใช่เป็นบุคคลที่มีชื่อแสดงในใบตราส่งว่าเป็นผู้รับตราส่ง ไม่เข้ากรณีของสูญหายหรือเสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากการสูญหายนี้หมายถึงของไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้ขนส่งจะเอามาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งได้ตามสัญญา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 614
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ม. 27, ม. 58


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2520
ห้างโจทก์มิใช่ผู้สั่งซื้อสินค้ารายพิพาทและทราบอยู่แล้วว่าบริษัทผู้ขายส่งของมาโดยลงชื่อผู้รับผิดเป็นห้างโจทก์ แท้จริงเจ้าของสินค้าคือจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ก็ยังรับใบอินวอยส์ ตั๋วแลกเงิน และใบตราส่งจากธนาคาร ถือได้ว่าโจทก์รับเอกสารต่างๆ ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองหรือรับประโยชน์จากบทกฎหมายมาตรา 614,615 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 614, ม. 615


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2520
ห้างโจทก์มิใช่ผู้สั่งซื้อสินค้ารายพิพาทและทราบอยู่แล้วว่าบริษัทผู้ขายส่งของมาโดยลงชื่อผู้รับผิดเป็นห้างโจทก์ แท้จริงเจ้าของสินค้าคือจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ก็ยังรับใบอินวอยส์ ตั๋วแลกเงิน และใบตราส่งจากธนาคาร ถือได้ว่าโจทก์รับเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองหรือรับประโยชน์จากบทกฎหมายมาตรา 614,615 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 614, ม. 615
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที