Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 612 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 612” คืออะไร? 


“มาตรา 612” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 612 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้ขนส่งเรียกเอาใบกำกับของ ผู้ส่งต้องทำให้
              ใบกำกับของนั้นต้องแสดงรายการต่อไปนี้ คือ
              (๑) สภาพและน้ำหนัก หรือขนาดแห่งของที่ส่ง กับสภาพ จำนวน และเครื่องหมายแห่งหีบห่อ
              (๒) ตำบลที่กำหนดให้ส่ง
              (๓) ชื่อหรือยี่ห้อ และสำนักของผู้รับตราส่ง
              (๔) ตำบลและวันที่ออกใบกำกับของนั้น
              อนึ่งใบกำกับของนั้นต้องลงลายมือชื่อผู้ส่งเป็นสำคัญ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 612” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 612 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัทอ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่ง เป็นผู้รับขนไม่ โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ซึ่งขณะนั้น พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติ ถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตาม มาตรา 615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัทอ.แล้วโดยบริษัทอ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัทอ.ผู้ซื้อโดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 193/30, ม. 612, ม. 613, ม. 615, ม. 624
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 172
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 193/30, ม. 612, ม. 613, ม. 615, ม. 624
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 172
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2523
จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 1 มารับตู้ลำเลียงอันบรรจุสินค้าแล้ว ณ ท่าเรือสัตหีบแต่องค์การ ร.ส.พ. จำเลยที่ 2 เป็นผู้ผูกขาดการขนส่งสินค้าเข้าไปในบริเวณท่าเรือตลอดจนการให้บริการด้านการท่าเรือ จำเลยที่ 1 จึงจ้างจำเลยที่ 2 ให้จัดรถทำการลากจูงตู้ลำเลียงของจำเลยที่ 1 ไปบรรทุกสินค้าและลากจูงไปยังท่าเรือสัตหีบแต่การตกลงรับขนส่งของทั้งในช่วงทางบกและทางทะเลจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับติดต่อและตกลงกับเจ้าของสินค้าผู้ส่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากกรุงเทพมหานครผ่านท่าเรือสัตหีบไปให้แก่บริษัท ท. ที่ท่าเรือฮ่องกงดังนี้ จำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางบกด้วย
การรับขนส่งสินค้าซึ่งแบ่งการขนส่งออกได้เป็นทอด ๆ การจ้างให้ผู้อื่นทำการขนส่งแทนในทอดใดทอดหนึ่งโดยให้ผู้นั้นไปรับค่าจ้างจากผู้จ้างได้โดยตรงนั้นไม่ทำให้ผู้รับขนพ้นความรับผิดสำหรับการขนส่งทอดนั้น ๆ ไปได้ตาม มาตรา 617 และ มาตรา 618
แม้จะฟังว่าสินค้าถูกคนร้ายลักไปในระหว่างที่พนักงานของจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจ้างขนส่งก็ยังต้องรับผิดในการที่สินค้าสูญหายตามมาตรา 617 และ มาตรา 618 อยู่นั่นเอง
การควบคุมดูแลรักษาสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในตู้ลำเลียงไม่จำเป็นต้องมีกุญแจหรือเครื่องมืออื่นใดในเมื่อจำเลยที่ 2 วางใจว่าการปิดประตูตู้แล้วผนึกด้วยตราของจำเลยที่ 1 และตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้นเป็นการเพียงพอจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งคนหนึ่งด้วยในการขนส่งสินค้ารายนี้
ตาม มาตรา 618 นั้น มิได้บัญญัติว่าต้องเป็นการร่วมกันทำการขนส่งดังนั้นการที่จะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงไม่เป็นปัญหา
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนสินค้ารายพิพาทจากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบแล้วขนส่งโดยทางเรือทะเลไปให้ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือฮ่องกงได้จ้างจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงซึ่งบรรจุสินค้าแล้ว จากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบ ต่อแต่นั้นจำเลยที่ 1 จึงใช้เรือเดินทะเลของตนขนส่งตู้ลำเลียงดังกล่าวไปยังท่าเรือปลายทางอีกทอดหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามความใน มาตรา 618 แล้ว

แม้ไม่ได้ความชัดว่าสินค้าหายไปในระหว่างที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 กันแน่นั้น ก็ไม่เป็นข้อขัดข้องที่จะบังคับตามมาตรา 618
ใบกำกับของและใบตราส่งนั้น ตามกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำให้แก่กัน จำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ที่จำเลยที่ 1 จ้างให้ทำการขนส่งทอดหนึ่งในการขนส่งหลายทอดอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำเอกสารดังกล่าวให้แก่กันไว้ก็ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 608, ม. 612, ม. 613, ม. 617, ม. 618
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที