Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 609 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 609 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 609” คืออะไร? 


“มาตรา 609” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 609 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การรับขนของหรือคนโดยสารในหน้าที่ของกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม และการขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขนั้น ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ รับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 609” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 609 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2556
ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การขนส่งไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ การฝากส่งสิ่งของพัสดุไปรษณีย์กับจำเลย จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2549 โดยอนุวัติตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ประกอบ พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย พ.ศ.2546 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการฝากส่งสิ่งของนั้น
เมื่อสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีเครื่องประดับมีมูลค่าสูง แต่ผู้ฝากส่งสิ่งของใช้วิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ โดยระบุที่หีบห่อพัสดุว่า "STONE" และมิได้ระบุราคาสินค้าหรือแจ้งราคาสินค้าหรือได้ทำไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศไว้กับจำเลย ซึ่งตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2525 หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์และหลักการข้อ 8 และระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 ข้อ 8 กำหนดชนิดของสิ่งของที่จะส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศไว้ อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมการส่งสิ่งของทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นสากล ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้วิธีการทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศฝากส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดการส่งออกไปยังปลายทางโดยปราศจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่สิ่งของนั้นได้ถูกส่งถึงผู้รับยังปลายทางในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ฝากส่งส่งอัญมณีที่มิได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่ง แต่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะส่งได้ด้วยวิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศโดยไม่ต้องปฏิบัติตามพิธีการทางศุลกากรก่อน ทั้งไม่ได้แจ้งราคาสิ่งของที่ฝากส่งด้วย จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวโดยชัดแจ้ง ถือเป็นความเสี่ยงภัยของผู้ฝากส่งเอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 609 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519
พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2552
บทบัญญัติมาตรา 609 แห่ง ป.พ.พ. กับบทบัญญัติมาตรา 50 และมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยเฉพาะความรับผิดทางสัญญาไม่รวมถึงกรณีละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด จำเลยจะยกกฎหมายดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ประกันค่าระวางสินค้าก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 609
พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ม. 50, ม. 51


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2552
ป.พ.พ. มาตรา 609 บัญญัติว่า "การรับขนของหรือคนโดยสารในหน้าที่ของกรมการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม... ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้นๆ" ส่วน พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 50 บัญญัติว่า "ข้อที่กรมรถไฟแผ่นดินจะต้องรับผิดชอบในการที่ผู้โดยสารต้องบาดเจ็บเสียหายก็ดี ฤๅว่าครุภาระ ห่อวัตถุ ฤๅสินค้า ซึ่งรับบรรทุกนั้นแตกหักสูญหายก็ดี... ท่านให้ใช้บังคับตามพระราชกำหนดกฎหมายส่วนแพ่งว่าด้วยการบรรทุกส่ง เว้นไว้แต่จะต้องด้วยบทมาตราดังกล่าวต่อไปในพระราชบัญญัตินี้ จึงให้บทมาตรานั้นๆ บังคับ" มาตรา 51 บัญญัติว่า "กรมรถไฟแผ่นดินไม่ต้องรับผิดชอบในการที่ครุภาระ ห่อวัตถุ ฤๅสินค้าที่บรรทุกส่งไปฤๅมอบฝากไว้กับรถไฟนั้นแตกหักบุบสลาย...เว้นไว้แต่พนักงานรถไฟจะได้รับของนั้นลงบัญชีประกันและได้ออกใบรับให้ไปเป็นสำคัญ" แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวให้คุ้มครองแก่จำเลยเฉพาะความรับผิดทางสัญญาไม่รวมถึงกรณีละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด จำเลยจะยกกฎหมายดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ประกันค่าระวางสินค้าก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 609
พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ม. 50, ม. 51
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที