Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 607 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 607 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 607” คืออะไร? 


“มาตรา 607” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 607 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้รับจ้างจะเอาการที่รับจ้างทั้งหมดหรือแบ่งการแต่บางส่วนไปให้ผู้รับจ้างช่วงทำอีกทอดหนึ่งก็ได้ เว้นแต่สาระสำคัญแห่งสัญญานั้นจะอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้าง แต่ผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพื่อความประพฤติหรือความผิดอย่างใด ๆ ของผู้รับจ้างช่วง “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 607” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 607 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2564
แม้ตามหนังสือสัญญาไม่มีข้อตกลงที่ระบุให้โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบเอกสารรับรองความปลอดภัยการใช้เครื่องกำเนิดไอน้ำพร้อมอุปกรณ์ แต่การไม่ส่งเอกสารรับรองความปลอดภัยการใช้เครื่องกำเนิดไอน้ำพร้อมอุปกรณ์แก่จำเลย ทำให้จำเลยไม่สามารถใช้งานเครื่องกำเนิดไอน้ำพร้อมอุปกรณ์ได้ตามกฎหมาย นอกจากนั้นโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้รับจ้างช่วง โดยยอมชำระเงินค่าจ้างที่ค้างให้ เมื่อบริษัทดังกล่าวดำเนินการจัดทำเอกสารรับรองความปลอดภัยการใช้เครื่องกำเนิดไอน้ำพร้อมอุปกรณ์ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว แสดงให้เห็นว่า สัญญาว่าจ้างก่อสร้างและติดตั้งเครื่องกำเนิดไอน้ำมีข้อตกลงโดยปริยายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบเอกสารรับรองความปลอดภัยแก่จำเลย เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าว แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ส่งมอบให้ตามกำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 596, ม. 603, ม. 607


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2518
โจทก์รับจ้างทำของให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยรับมอบงานที่ทำทั้ง ๆ ที่ทราบข้อชำรุดบกพร่องอยู่ก่อนแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าจ้างแก่โจทก์ การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ต้องรับผิดเพื่อการนี้เพราะจำเลยได้โต้แย้งท้วงติงในความชำรุดบกพร่องดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปีแล้วนั้น ก็เป็นเรื่องความรับผิดในข้อชำรุดบกพร่องเป็นคนละเรื่องกับการที่จำเลยรับมอบงานแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง
การที่โจทก์เอางานบางส่วนไปให้ผู้อื่นรับจ้างช่วงโดยมิได้รับอนุญาตจากจำเลย แม้จะเป็นการผิดสัญญา แต่เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่เคยยกเหตุนี้ขึ้นว่ากล่าวแก่โจทก์และไม่เคยขอเลิกสัญญากับโจทก์เพราะเหตุนี้ กรณีจึงไม่มีค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องรับผิดอันจำเลยจะอ้างอำนาจตามข้อสัญญามายึดและหักเงินค่าจ้างที่ค้างชำระไว้เพื่อเป็นค่าทดแทน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 386, ม. 587, ม. 598, ม. 600, ม. 607


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2518
โจทก์รับจ้างทำของให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยรับมอบงานที่ทำทั้ง ๆ ที่ทราบข้อชำรุดบกพร่องอยู่ก่อนแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าจ้างแก่โจทก์ การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ต้องรับผิดเพื่อการนี้เพราะจำเลยได้โต้แย้งท้วงติงในความชำรุดบกพร่องดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปีแล้วนั้น ก็เป็นเรื่องความรับผิดในข้อชำรุดบกพร่องเป็นคนละเรื่องกับการที่จำเลยรับมอบงานแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง
การที่โจทก์เอางานบางส่วนไปให้ผู้อื่นรับจ้างช่วงโดยมิได้รับอนุญาตจากจำเลย แม้จะเป็นการผิดสัญญา แต่เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่เคยยกเหตุนี้ขึ้นว่ากล่าวแก่โจทก์และไม่เคยขอเลิกสัญญากับโจทก์เพราะเหตุนี้ กรณีจึงไม่มีค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องรับผิดอันจำเลยจะอ้างอำนาจตามข้อสัญญามายึดและหักเงินค่าจ้างที่ค้างชำระไว้เพื่อเป็นค่าทดแทน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 386, ม. 587, ม. 598, ม. 600, ม. 607
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที