Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 605 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 605 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 605” คืออะไร? 


“มาตรา 605” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 605 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "สัญญาจ้าง" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "สัญญาจ้าง" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 605” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 605 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2557
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างระบุชื่อผู้ว่าจ้างคือ จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว แต่ในหนังสือสัญญาดังกล่าวข้อ 1 มีข้อตกลงระบุให้โจทก์ว่าความในคดีดังกล่าวที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 1 อีกทั้งใบแต่งทนายความก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมแต่งตั้งโจทก์เป็นทนายความในคดีดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวความในคดีดังกล่าว การจ้างโจทก์ว่าความจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อย่างแท้จริง ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาจ้างว่าความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 587, ม. 605


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467 - 2468/2552
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารขนาด 16 คูหา แบ่งงวดงานก่อสร้างทั้งหมด 11 งวด กำหนดลงมือก่อสร้างวันที่ 1 ตุลาคม 2537 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2538 จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งงานตามกำหนดงวดในสัญญาได้ โจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับโดยเมื่อพ้นกำหนดตามสัญญาคือวันที่ 30 กันยายน 2538 โจทก์ที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 เร่งรัดทำการก่อสร้างตามงวดงาน เอกสารทุกฉบับที่โจทก์ที่ 1 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เป็นเวลาหลังจากครบกำหนดตามสัญญาก่อสร้างแล้ว ฝ่ายจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญแม้จะส่งงานเกินกำหนดเวลาแต่ละงวดโจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับผลงาน การที่โจทก์ที่ 1 ยอมรับผลงานก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงวดงานจึงเป็นการขยายระยะเวลาสัญญาว่าจ้างไปโดยไม่มีกำหนด มิได้ถือเอาวันที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่างวดงานในงวดที่ 9 แต่โจทก์ที่ 1 ปฏิเสธโดยขอให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กันยายน 2539 แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานทั้งหมดใหม่คือวันที่ 15 กันยายน 2539 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 16 กันยายน 2539 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2539 มิใช่วันที่ 30 กันยายน 2538 ดังนั้น จำเลยจที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสิบหก

เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานเดิมในวันที่ 30 กันยายน 2538 เป็นสาระสำคัญ และได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานใหม่เป็นวันที่ 15 กันยายน 2539 โจทก์ที่ 1 จึงอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อนวันที่ 15 กันยายน 2538 หาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเรียกร้องค่าปรับรายวันตามสัญญาในระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2538 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2539 จากจำเลยที่ 1 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 387, ม. 597, ม. 605


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2551
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของจึงตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 7 โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา (ถอนจากการเป็นทนายความ) ได้ตราบใดที่การที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ เพียงแต่โจทก์จะต้องเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 605 แต่ข้อสัญญาจ้างว่าความที่กำหนดห้ามโจทก์บอกเลิกสัญญามิได้ห้ามเด็ดขาดเพียงแต่หากเลิกสัญญา โจทก์จะต้องชำระค่าทนายความ (ค่าจ้าง) ที่ค้างอยู่ทั้งหมดทันทีเท่านั้น ข้อสัญญานี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ส่วนข้อสัญญาให้โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชำระค่าจ้างที่ค้างอยู่ทั้งหมดนั้น ก็เป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับได้เช่นกัน ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าจ้างเต็มตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้รับจ้างทำการที่จ้างแล้วเสร็จ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังทำการที่จ้างไม่แล้วเสร็จจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน การที่ตกลงให้โจทก์ผู้ว่าจ้างรับผิดเต็มจำนวน จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 605
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที