Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 602 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 602 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 602” คืออะไร? 


“มาตรา 602” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 602 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ ถ้าการที่ทำนั้นมีกำหนดว่าจะส่งรับกันเป็นส่วน ๆ และได้ระบุจำนวนสินจ้างไว้เป็นส่วน ๆ ไซร้ ท่านว่าพึงใช้สินจ้างเพื่อการแต่ละส่วนในเวลารับเอาส่วนนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 602” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 602 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2564
ค่าจ้างว่าความซึ่งโจทก์ตั้งเป็นมูลฟ้องจำเลยทั้งสองนั้นจะมีผลบังคับต่อเมื่อจำเลยที่ 1 บังคับคดีลูกหนี้ในคดีของศาลจังหวัดธัญบุรีได้เงินมา โจทก์ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวได้ติดตามยึดทรัพย์ของลูกหนี้และอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนหนึ่งของการบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน ตราบใดที่โจทก์ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 1 ยังบังคับคดีเอาแก่ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ โจทก์ย่อมยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างว่าความได้ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องจึงยังไม่เริ่มนับ เช่นนี้แม้จะได้ความว่าลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับมอบงานที่โจทก์ทำและพึงใช้ค่าจ้างว่าความในวันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ใช่การกระทำของโจทก์ที่ส่งมอบงาน แต่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 เอง การที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากลูกหนี้ของตนโดยไม่ได้แจ้งแก่โจทก์ถึงผลงานดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่อาจหยั่งรู้ได้ถึงจำนวนหนี้และกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 พึงใช้ค่าการงานที่ทำให้ และเมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ย่อมต้องถือว่าเป็นเวลาแรกที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากลูกหนี้ของตนไปครบถ้วน เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 จึงไม่เกินกว่า 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (16) คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/12, ม. 193/34 (16), ม. 602 วรรคหนึ่ง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10970/2555
โจทก์อ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ส่งมอบงานที่จำเลยว่าจ้างให้จำเลยตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคม 2542 เท่ากับโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระสินจ้างได้ตั้งแต่วันส่งมอบงานที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ถือว่าสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ และจำเลยไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนของโจทก์ที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นโดยวิธีทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 โจทก์โดยผู้บริหารแผนจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง หากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 602 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. ม. 150, ตาราง 1
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 90/39


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2553
แม้รายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมที่โจทก์ดำเนินการสั่งซื้อไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้มีการทำคำสั่งนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรตามทางปฏิบัติ แต่ในรายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมนั้นได้มี บ. วิศวกรคุมงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ตรวจสอบและลงชื่อกำกับไว้ และมี ส. หัวหน้าคนงานเบิกความเป็นพยานยืนยันการตรวจสอบและลงลายมือชื่อกำกับดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้นำสืบหักล้างคำเบิกความของ ส. กรณีจึงต้องฟังตามที่ ส. เบิกความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหนี้โจทก์ตามเอกสารรายการสั่งซื้อดังกล่าว
ตามป.พ.พ. มาตรา 602 บัญญัติว่าอันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ ดังนี้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าแรงและค่าวัสดุให้แก่โจทก์ในเวลาที่รับมอบงาน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ โดยมิต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้อีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 602
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที