Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 60 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 60” คืออะไร? 


“มาตรา 60” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 60 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่การจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่โดยอนุโลม “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 60” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 60 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2551
การที่ ส. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ภ. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง แม้ขณะนั้น ส. ยังมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ฟ้องคดีแทนก็หาใช่เป็นเรื่องที่มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้อันจะตกเป็นโมฆะไม่ ผลคงมีเพียงว่า ภ. ยังไม่อาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจช่วงที่ทำกันไว้ในขณะนั้นได้เท่านั้นต่อมาเมื่อ ส. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องคดีแทนแล้วก็มิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทำหนังสือมอบอำนาจช่วงขึ้นใหม่หนังสือมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ มีผลทำให้ ภ. มีอำนาจแต่งตั้งทนายความยื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ ส. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เป็นต้นไป
ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคสอง (5) ห้ามมิให้ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปฟ้องคดีแทนตัวการในกรณีที่การมอบอำนาจมิได้ระบุให้ตัวแทนฟ้องคดีแทนตัวการได้เท่านั้นแต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ โดยให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ที่กระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ รวมทั้งให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยตรงอยู่แล้ว และไม่จำต้องระบุไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลยที่ 1 หรือบุคคลใด หรือฟ้องข้อหาใด จึงเป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 801, ม. 60


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2537
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้จึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา
การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยให้ชำระหนี้เพื่อลดหนี้ลงและปลดจำนองทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันไว้ไปบางรายการและได้มีการชำระหนี้บางส่วนตามที่ตกลงกันไว้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่มีการชำระหนี้บางส่วนนั้น หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 56, ม. 5, ม. 60
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที