Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 592 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 592 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 592” คืออะไร? 


“มาตรา 592” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 592 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้รับจ้างจำต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำอยู่นั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 592” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 592 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6144/2539
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น การซื้อขาย ต่างจากการรับจ้างทำของตรงที่การซื้อขายมุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วนการรับจ้างทำของมุ่งถึงการงานที่ทำและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ซึ่งในเรื่องจ้างทำของนั้น ป.พ.พ. มาตรา 592 ได้กำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างไว้ว่าผู้รับจ้างต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลา และมาตรา 605 กำหนดสิทธิของผู้ว่าจ้างไว้ว่าถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญา คดีนี้ การติดต่อสั่งทอผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยในครั้งแรก ๆ ได้ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ ต่อมาจึงสั่งทอด้วยวาจาโดยจำเลยสั่งโจทก์ให้ทอผ้าตามลายที่จำเลยกำหนดโดยกำหนดจำนวนที่จำเลยต้องการแน่นอน ข้อตกลงในการส่งมอบผ้าและการชำระราคายังเป็นไปตามที่เคยกำหนดไว้ในสัญญาและในการทอผ้าตามที่จำเลยสั่ง โจทก์จะแจ้งให้ผู้อื่นเป็นผู้ทอให้ ในระหว่างที่มีการทอผ้าจำเลยไม่ได้เข้าไปควบคุมตรวจตราการทอและจะบอกยกเลิกการทอไม่ได้ ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ทอผ้าหลายครั้ง การสั่งทอผ้าครั้งใดที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท และไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำไว้หรือได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วโจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 สำหรับผ้าที่มีการสั่งทอในครั้งดังกล่าวไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 165 (1), ม. 193/34 (1), ม. 453, ม. 587, ม. 592, ม. 605


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534
โจทก์จะผลิตคอนกรีตผสมเสร็จต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากลูกค้าตามสูตรสำเร็จของโจทก์หรือตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้วัสดุของโจทก์เอง แล้วโจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จบรรทุกรถที่มีโม่เพื่อกวนคอนกรีตให้เข้ากันและป้องกันการแข็งตัวไปส่งยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด แม้โจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้แล้วไปทดสอบ แรงอัดประลัย หากไม่ได้ขนาดที่ตกลงกันโจทก์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นก็เป็นการรับผิดชอบในคุณสมบัติของของที่นำไปใช้งานและการที่ไม่ผลิตเป็นตัวสินค้าให้สำเร็จก่อนมีการสั่งซื้อก็เพราะเกี่ยวกับสภาพของของไม่อาจทำเช่นนั้นได้ การประกอบการของโจทก์จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มาตรา 7(3) และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่ง บัญชีอัตราภาษีการค้า ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับ.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 453, ม. 587, ม. 592
ป.รัษฎากร ม. 77
บัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายประมวลรัษฎากร ประเภทการค้า 1
บัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายประมวลรัษฎากร ประเภทการค้า 4


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534
ป.รัษฎากรมิได้กำหนดความหมายของคำว่าการรับจ้างทำของไว้จึงต้องพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. เรื่องลักษณะจ้างทำของซึ่งงานที่ทำนั้นต้องเป็นของผู้ว่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าการสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ ลูกค้าจะสั่งตามคุณสมบัติในรายการที่โจทก์แจ้งให้ลูกค้าทราบ เมื่อลูกค้าสั่งมาโจทก์ก็ดำเนินการผสมคอนกรีตผสมเสร็จไปเทเข้าในแบบที่ทำการก่อสร้าง อันเป็นงานที่กำหนดเท่านั้น งานส่วนนี้จึงยังเป็นของโจทก์ไม่ใช่งานของลูกค้าผู้สั่งซื้อคอนกรีตสำหรับการนำคอนกรีตที่โจทก์ผสมเสร็จแล้วไปเทตามแบบที่ต้องการซึ่งเป็นงานของลูกค้าผู้สั่งซื้อคอนกรีตนั้น โจทก์ก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในงานส่วนนี้ด้วยนอกจากนี้ตั้งแต่เริ่มการผสมคอนกรีตเสร็จจนถึงเวลาที่โจทก์นำคอนกรีตผสมเสร็จไปส่งให้ลูกค้าตามสั่งนั้น ลูกค้าผู้สั่งไม่มีอำนาจที่จะไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของโจทก์ที่พอจะถือว่าลูกค้าผู้สั่งนั้นเป็นผู้ว่าจ้างซึ่งมีอำนาจตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 592 จึงถือไม่ได้ว่าลูกค้าเป็นผู้ว่าจ้างตามลักษณะการจ้างทำของ การประกอบการของโจทก์เกี่ยวกับคอนกรีตผสมเสร็จ จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของ มิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 587, ม. 592
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที